ลิ้นหัวใจยาว - Mitral Valve Prolapse

เรื่องราวเกี่ยวกับ “ลิ้นหัวใจยาว”

ฟัง ดูชื่อตลกไหมครับ…ลิ้นหัวใจยาว ที่จริงมีผู้ใช้คำอื่นๆ เช่น ลิ้นหัวใจโป่ง ลิ้นหัวใจแลบ ซึ่งก็ฟังตลกๆทั้งนั้น ยังไม่มีคำศัพท์ภาษาไทย ที่เหมาะสม คำนี้มาจากภาษาอังกฤษว่า Prolapse ขึ้นกับว่าเกิดกับลิ้นไหน ลิ้นหัวใจที่พบว่า prolapse บ่อย และ เป็นปัญหามาก ที่สุด คือ ลิ้นไมตรัล จึงเรียกว่า Mitral Valve Prolapse หรือ Prolapsed Mitral Valve ใช้คำย่อว่า MVP
สาเหตุ อาจเกิดความเสื่อมสภาพ หรือ มีการสะสมของสารบางชนิดที่ลิ้นหัวใจมากขึ้น (myxomatous degeneration) เป็นผลให้ลิ้นหัวใจ นั้นยาวขึ้น และ มีความยืดหยุ่นมากผิดปกติด้วย (floppy) เวลาลิ้นหัวใจปิด ซึ่งปกติแล้วส่วนปลายลิ้นหัวใจจะชนกันพอดี ทำให้ปิดสนิท ไม่มีเลือดรั่ว แต่ในลิ้นหัวใจที่ยืดยาวและสะบัดมาก ทำให้เกิดการเกยกันของลิ้นหัวใจขณะที่ลิ้นปิด บางส่วนของ ลิ้นหัวใจอาจยื่นเลยเข้าไปในหัวใจห้องบนได้ (เป็นที่มาของคำว่า prolapse) ทำให้ลิ้นหัวใจรั่ว ลิ้นหัวใจแบบนี้ค่อนข้างอ่อนแอ เกิด การติดเชื้อได้ง่าย และ หากยังคงมีการเสื่อมสภาพ (degeneration) มากขึ้น ก็จะทำให้ลิ้นหัวใจรั่วมากขึ้นเรื่อยๆได้ (แต่ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะรั่วเพียงเล็กน้อยเท่านั้น)
เชื่อ ว่าเป็นมาแต่กำเนิด แต่อาจไม่แสดงอาการทุกราย บางรายอาจตรวจพบในวัยรุ่นหรือผู้ใหญ่ หรือ ตรวจไม่พบเลย จนกระทั่ง มีปัญหาแทรกซ้อนเกิดขึ้น แล้วก็ได้ ในต่างประเทศพบได้ประมาณร้อยละ 5 ของประชากร (บางรายงานให้ถึงร้อยละ 10-15 แล้วแต่เทคนิคการตรวจ) การศึกษาล่าสุดจากสหรัฐอเมริกา พบว่าอุบัติการณ์ของโรคนี้ พบน้อยกว่าที่เคย มีรายงานไว้ คือ ประมาณร้อยละ 2.4 เท่านั้น ทั้งนี้เนื่องจากการศึกษาเก่าๆยังไม่ได้ใช้มาตราฐานเดียวกัน ในการที่จะบอกว่าใครมีโรคนี้ สำหรับในประเทศไทยยัง ไม่เห็นรายงานที่จะบอกตัวเลขได้แน่นอน
ผู้ ป่วยส่วนใหญ่ไม่มีอาการผิดปกติ อาจตรวจพบขณะตรวจสุขภาพทั่วไป ผู้ป่วยส่วนหนึ่งมีอาการใจสั่น ซึ่งเกิดจากหัวใจเต้นผิดจังหวะ และ พบว่าผู้ป่วย MVP ส่วนหนึ่งมีอาการของโรคแพนิค (Panic disorder) ร่วมด้วย ซึ่งความสัมพันธ์นี้ ไม่สามารถอธิบายด้วย โรคหัวใจ ในกรณีที่ลิ้นหัวใจรั่วมาก ก็จะมีอาการของหัวใจล้มเหลว เช่น เหนื่อย หอบ ขาบวม แต่เดิมเชื่อว่าผู้ป่วย MVP นี้ยังเสี่ยงต่อ การเกิด อัมพาตเนื่องจากหลอดเลือดเลี้ยงสมองอุดตัน ปัจจุบันนี้ไม่เชื่อแล้ว ข้อมูลปัจจุบันบ่งชี้ว่าผลแทรกซ้อนต่างๆที่เกิดขึ้นจาก โรคลิ้นหัวใจยาว หรือ MVP นี้เกิดต่ำมาก ใกล้เคียงกับคนที่ไม่มีโรคนี้
ตรวจ ร่างกายฟังเสียงหัวใจ อาจได้ยินเสียงลิ้นหัวใจที่เรียกว่า Click และหากลิ้นหัวใจปิดไม่สนิท จะได้ยินเสียงเลือดไหลย้อน ที่เรียกว่า เสียงฟู่ หรือ Murmur ปัญหาที่สำคัญคือ โรคนี้อาจจะไม่เป็นตลอดเวลา ดังนั้นการตรวจที่ปกติก็ไม่สามารถ ยืนยันว่าไม่เป็นร้อยเปอร์เซนต์
อัลตราซาวน์หัวใจ หรือ เรียกว่า เอคโค่คาร์ดิโอแกรม (Echocardiogram) เป็นการตรวจที่สามารถเห็นลิ้นหัวใจได้ชัดเจน และให้การวินิจฉัย ได้ดีที่สุดวิธีหนึ่ง แต่อย่างไรก็ตามเป็นการตรวจที่ขึ้นกับแพทย์มาก เพราะไม่มีมาตราฐานว่าแค่ไหนถึงจะเรียกว่า “ลิ้นหัวใจยาวกว่าปกติ” หากเห็น ชัดเจนว่าลิ้นปิดเกยกันและมีลิ้นหัวใจรั่ว แพทย์โรคหัวใจทุกท่านก็คงเห็นพ้องกัน แต่ในรายที่เป็น น้อยๆ หรือเห็นเฉพาะบางมุม จะเป็นปัญหามาก เอาภาพนี้ให้แพทย์หลายท่านดูก็จะให้ความเห็นที่แตกต่างกันได้มากๆ ที่แย่ คือ โรคนี้อาจไม่เป็นตลอดเวลา ดังนั้นทำวันนี้เห็นชัด แต่วันหน้า อาจไม่ชัดเจนก็ได้ กระนั้นก็ตามการตรวจ Echocardiogram ก็ยังมีประโยชน์ในการดูขนาดห้องหัวใจ ดูว่าลิ้นหัวใจรั่วหรือไม่ มากน้อยเพียงไร เพื่อให้คำแนะนำต่อไป
ใน กรณีที่ไม่มีอาการผิดปกติ ไม่จำเป็นต้องรักษา หากมีใจสั่นผิดปกติจากหัวใจเต้นผิดจังหวะก็รักษาเรื่องนั้น หากมีอาการของ โรคแพนิคก็รักษาโรคแพนิค การรักษาลิ้นหัวใจรั่วคือการผ่าตัดแก้ไข โดยอาจเป็นการผ่าตัดเพื่อซ่อมแซมลิ้น หรือ การผ่าตัด เปลี่ยนลิ้นหัวใจ ซึ่งจะทำในกรณีที่ลิ้นหัวใจรั่วมากเท่านั้น
ว่า ไปที่จริงแล้ว แม้จะมีปัญหาลิ้นหัวใจยาวกว่าปกติ หรือ รั่วเล็กน้อยก็ตาม ผู้ป่วยกลุ่มนี้ก็ยังสามารถดำเนินชีวิต ได้อย่างเป็นปกติ ออกกำลังกายได้ตามปกติ เพียงแต่ควรได้รับคำแนะนำและการตรวจจากแพทย์บ้าง

.

รายชื่อศูนย์หัวใจ ทั่วประเทศไทย

รายชื่อ โรงพยาลาล ที่จัดตั้งเป็น "ศูนย์หัวใจ" ทั่วประเทศไทย (ปรับปรุงล่าสุด กค 2552)

รพ.ศิริราช

รัฐบาล

รพ.จุฬา

รัฐบาล

รพ.วชิร

รัฐบาล

สถาบันโรคทรวงอก

รัฐบาล

รพ.รามาธิบดี

รัฐบาล

รพ.ภูมิพลอดุลยเดช

รัฐบาล

รพ.มหาราชนครราชสีมา

รัฐบาล

รพ.สงขลานครินทร์

รัฐบาล

รพ.สรรพสิทธิประสงค์

รัฐบาล

รพ.พระปกเกล้าจันทบุรี

รัฐบาล

รพ.สุราษฎร์ธานี

รัฐบาล

รพ.มหาวิทยาลัยขอนแก่น

รัฐบาล

รพ.พุทธชินราช

รัฐบาล

รพ.พระมงกุฎเกล้า

รัฐบาล

รพ.ตำรวจ

รัฐบาล

รพ.มหาราชนครเชียงใหม่

รัฐบาล

รพ.บำรุงราษฎร์

เอกชน

รพ.หัวใจกรุงเทพ

เอกชน

รพ.เซ็นหลุยส์

เอกชน

รพ.บางกอก 9

เอกชน

รพ.รามคำแหง

เอกชน

รพ.กรุงเทพภูเก็ต

เอกชน

รพ.กรุงเทพพัทยา

เอกชน

รพ.พระราม 9

เอกชน

รพ.ปิยะเวท

เอกชน

รพ.วิชัยยุทธ

เอกชน

รพ.เจ้าพระยา

เอกชน

รพ.ราชวิถี

รัฐบาล

รพ.พญาไท 2

เอกชน

รพ.สมิติเวช

เอกชน

รพ.ธนบุรี 1

เอกชน

รพ.มหาวิทยาลัยนเรศวร

รัฐบาล

รพ.ธรรมศาสตร์

รัฐบาล

รพ.พญาไท 3

เอกชน

รพ.เชียงใหม่ราม

เอกชน

รพ.วิภาวดี

เอกชน

รพ.ชลบุรี

รัฐบาล


ที่มา: www.thaiheartweb.com
..

.

หลอดเลือดหัวใจ

หลอดเลือดเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจเรียกว่า Coronary Artery มีอยู่ด้วยกัน 2 เส้นใหญ่ โดยออกจากหลอดเลือดแดงใหญ่ Aorta ด้านขวา ซ้าย เรียกว่า Right และ Left Coronary Artery ตามลำดับ หลอดเลือดด้านซ้ายยังแบ่งเป็นแขนงใหญ่ๆ คือ Left Anterior Desending Artery (LAD) ซึ่งเลี้ยงหัวใจด้านหน้า และ เลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจส่วนสำคัญของ หัวใจห้องซ้ายล่าง และ อีกแขนงจะวิ่งไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ ด้านหลังและด้านล่าง เรียกว่า Left Circumflex Artery (LCX) ส่วน Right Coronary Artery (RCA) จะเลี้ยง กล้ามเนื้อหัวใจด้านขวาและด้านล่าง
http://www.bangkokhealth.com/cimages/HD_04.jpg
ดัง นั้นหากหลอดเลือดหัวใจผิดปกติ เช่น ตีบ หรือ ตัน กล้ามเนื้อ หัวใจจะขาดเลือดไปเลี้ยง ทำให้หัวใจบีบ คลาย ตัวผิดปกติ และ เกิดอาการแน่นหน้าอ

.
.

เรียนรู้เรื่อง โรคหัวใจ

คำว่า “โรคหัวใจ” เป็นคำที่กว้างมาก ฟังดูน่ากลัวมากสำหรับผู้ป่วย ในความเป็นจริงแล้วโรคหัวใจแบ่งย่อยออกได้มากมายหลายชนิด ความรุนแรง และความจำเป็นในการรักษาก็แตกต่างกัน ดังนั้นหากคุณหมอบอกท่านว่าท่านเป็นโรคหัวใจ ท่านควรจะทราบ รายละเอียดเกี่ยวกับความเจ็บป่วย ของท่านมากขึ้น ว่าท่านเป็นโรคหัวใจชนิดใด เกิดจากอะไรและมีแนวทางการรักษาอย่างไร

เราอาจแบ่งชนิดของโรคหัวใจคร่าวๆได้ดังนี้

โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าเป็นมาตั้งแต่เกิด บางครั้งวินิจฉัยได้แต่แรกคลอด แต่บางครั้งก็ไม่มีอาการใดๆ จนกว่าจะอายุมากก็มี ความผิดปกตินี้อาจเกิดขึ้นกับทุกส่วนของหัวใจ เช่น หลอดเลือดหัวใจ ลิ้นหัวใจ ผนังกั้นห้องหัวใจ หรือ ตัวห้องหัวใจเอง มีสภาพไม่สมบูรณ์ เหมือน บ้านที่สร้างไม่เสร็จ มีรอยโหว่ รู้รั่ว ประตูปิดไม่ดี น้ำท่วม เป็นต้น ส่วนใหญ่แล้วเรา ไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจน เชื่อว่าการติดเชื้อไวรัสและการได้รับสารเคมี เช่น ยาบางชนิดระหว่างตั้งครรภ์อ่อนๆอาจมีส่วนเกี่ยวข้อง ความผิดปกติเหล่านี้หลายอย่างสามารถผ่าตัดแก้ไขได้ แต่บางครั้งก็ทำอะไรไม่ได้

โรคลิ้นหัวใจ ลิ้นหัวใจพิการอาจเป็นแต่กำเนิดหรือมาเป็นภายหลังได้ ที่มาเป็นภายหลังส่วนมากเกิดจากการติดเชื้อคออักเสบ และไม่ได้รับการรักษา อย่างถูกต้อง ร่างกายสร้างภูมิต้านทานต่อต้านหัวใจตัวเอง เกิดการอักเสบของลิ้นหัวใจ และ เกิดลิ้นหัวใจพิการ (ตีบ รั่ว) ตามมา นอกจากนั้นลิ้นหัวใจพิการยัง อาจเกิดจากการติดเชื้อที่หัวใจโดยตรง หรือเกิดจากการเสื่อมของลิ้นหัวใจเอง โดยมากแล้วเราสามารถผ่าตัดแก้ไขได้

โรคกล้ามเนื้อหัวใจ กล้ามเนื้อหัวใจทำงานผิดปกติไม่ว่าจะบีบ หรือ คลายตัว กล้ามเนื้อหัวใจหนากว่าปกติ เป็นต้น โรคที่พบบ่อย คือ กล้ามเนื้อหัวใจเสีย เนื่องจากความดันโลหิตสูงที่ไม่ได้รับการรักษามานาน กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด หรือ กล้ามเนื้อหัวใจตาย บางส่วน เนื่องจากหลอดเลือดหัวใจตีบหรือตัน เป็นต้น ยังมีโรคของกล้ามเนื้อหัวใจบางชนิดที่ไม่ทราบสาเหตุ (อาจเกิดจากการ ติดเชื้อไวรัส) ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจบางและบีบตัวอ่อนกว่าปกติมาก การรักษาโรคของกล้ามเนื้อหัวใจนี้ อาศัยการแก้ไขที่สาเหตุ เช่น ขยายหลอดเลือดหัวใจ ผ่าตัดบายพาส ส่วนหากไม่ได้ผลหรือเป็นกลุ่มที่ไม่มีสาเหตุ การรักษาสุดท้ายคือการผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจ

โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหัวใจขาดเลือด เป็นโรคกลุ่มเดียวกัน เพราะหลอดเลือดหัวใจจะ นำเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ เมื่อหลอดเลือด ผิดปกติจะทำให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด การทำงานจึงผิดปกติ โรคของหลอดเลือดหัวใจอาจเกิดจากหลายสาเหตุ แต่ที่พบบ่อยที่สุด เกิดจากการสะสม ของไขมันที่ผนัง ทำให้หลอดเลือดหัวใจตีบและตันในที่สุด (ไม่ใช่มีก้อนไขมันในเลือดลอย ไปอุดตัน ตามที่เข้าใจกัน)

โรคเยื่อหุ้มหัวใจ เป็นโรคที่พบไม่บ่อย ส่วนใหญ่เกิดการอักเสบจากการติดเชื้อไวรัส หรือ แบคทีเรีย หรือ เชื้อวัณโรค โรคนี้ส่วนใหญ่รักษาได้ ยกเว้นกรณีที่มะเร็งแพร่กระจายมายังเยื่อหุ้มหัวใจ

โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ กลุ่มนี้มีหลายชนิดมาก บางชนิดไม่เป็นอันตราย บางชนิดอันตรายมาก (ส่วนใหญ่ของกลุ่มที่ร้ายแรง มักมีความผิดปกติ ของกล้ามเนื้อหัวใจ หลอดเลือดหัวใจด้วย) สาเหตุเกิดจากระบบไฟฟ้าในหัวใจทำงานผิดปกติไป เช่น มีจุดกำเนิด ไฟฟ้าแปลกปลอมขึ้น หรือ เกิดทางลัด (เรียกง่ายๆว่า ไฟช็อต) ในระบบ เป็นต้น

การติดเชื้อที่หัวใจ พบได้บ่อยในผู้ป่วยภูมิต้านทานต่ำ หรือ ติดยาเสพติดชนิดฉีด โดยมากเกิดการติดเชื้อที่ลิ้นหัวใจ ซึ่งจะเป็นปัญหาในการรักษา อย่างมาก โรคหัวใจในผู้ป่วยที่ติดเชื้อ HIV ก็เป็นอีกกลุ่มที่มีลักษณะของโรคหลากหลายมาก

มะเร็งที่หัวใจ คุณคงได้ยินข่าวคราวเกี่ยวกับมะเร็งตามอวัยวะต่างๆบ่อยๆ เช่น ปอด ตับ กระดูก ไต เต้านม มดลูก และ ปากมดลูก รังไข่ ฯลฯ แต่น้อยครั้ง มากที่จะได้ยิน”มะเร็งหัวใจ” เพราะเนื้องอกที่หัวใจพบได้น้อย ส่วนใหญ่ของมะเร็งหัวใจ เกิดจากมะเร็งอวัยวะข้างเคียงลุกลามมายังหัวใจ เช่น มะเร็งปอด มะเร็งเต้านม เป็นต้น

ทั้งหมดนี้เป็นการจัดกลุ่มใหญ่ๆ ซึ่งในความเป็นจริงแล้วมีรายละเอียดปลีกย่อยอีกมาก แต่จะเห็นว่าผมไม่กล่าวถึง “โรคหัวใจอ่อน” “โรคประสาทหัวใจ” “โรคหัวใจโต” เลย เพราะความจริงแล้ว ไม่มีโรคนี้ ขอเน้นอีกครั้งว่า โรคหัวใจอ่อน และ โรคประสาทหัวใจ ไม่ใช่โรคหัวใจ ส่วนใหญ่เกิดจากความกังวล ส่วนหัวใจโตนั้นเป็นภาวะมากกว่าที่จะเป็นโรค และ ต้องทราบ ว่าสาเหตุที่หัวใจโตนั้น เกิดจากโรคอะไร คำว่าหัวใจโตเฉยๆจึงไม่มีความหมายใดๆ

คำที่เกี่ยวข้อง : เรียนรู้เรื่องโรคหัวใจ ,โรคหัวใจโต เป็นอย่างไร? ,โรคหัวใจรูมาติก -ไข้รูมาติก/Rheumatic Fever-RHD ,เจ็บแน่นหน้าอก Chest Pain ,เยื่อหุ้มหัวใจ ,ลิ้นหัวใจ ,ห้องหัวใจ


.

เส้นเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจ - Coronary Artery

เส้นเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจ เรียกว่าเส้นเลือดแดงโคโรนารี่ มีรูเปิดอยู่ที่บริเวณโคนของเส้นเลือดแดงเอออร์ตา แบ่งเป็น 2 เส้น คือ เส้นเลือด แดงโคโรนารี่ด้านขวา และเส้นเลือดแดงโคโรนารี่ด้านซ้าย
เส้นเลือดแดงโคโรนารี่ด้านขวา จะเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจด้านขวา และกล้ามเนื้อหัวใจด้านซ้ายส่วนล่าง
เส้นเลือดแดงโคโรนารี่ด้านซ้าย จะเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจด้านซ้ายที่เหลือทั้งหมด จะแตกออกเป็น 2 แขนง คือแขนงที่มาด้านหน้า เรียกว่า Left anterior descending artery และแขนงที่อ้อมไปด้านหลังเรียกว่า Left circumflex artery



.

เส้นทางการนำไฟฟ้าในหัวใจ

เส้นทางการนำไฟฟ้าในหัวใจ
หัวใจจะทำงานโดยการบีบตัวและคลายตัวได้ เกิดจากมีการกระตุ้นทางไฟฟ้าผ่าน ทางสายนำไฟฟ้า ในหัวใจ ซึ่งมีจุดกำเนิดไฟฟ้า อยู่ที SA node ซึ่งอยู่บริเวณหัวใจห้องบนขวา

กระแสไฟฟ้าจะเดินทางจาก SA node ผ่านไปยังหัวใจห้องบนทั้ง
ซ้ายและขวา เป็นผล ให้หัวใจห้องบนทั้งสองบีบตัว ในจังหวะหัวใจคลาย
ตัว(diastole) แล้วกระแสไฟฟ้าจะเดิน ทางมายังบริเวณที่เรียกว่า AV node
ซึ่งอยู่ใกล้กับบริเวณรอยต่อหัวใจห้องบนกับห้องล่าง
http://img.tfd.com/vet/thumbs/gr84.jpghttp://www.coolschool.ca/lor/BI12/unit10/U10L02/heartbeat.gif


หลังจากนั้นกระแสไฟฟ้าจะเดินทางลงมายัง bundle of HIs แล้ว
แตกออกเป็น 2 แขนง คือแขนงด้านขวา และแขนงด้านซ้ายซี่งจะแตกออก
อีกเป็นแขนงด้านหน้าและด้านหลัง

สุดท้ายกระแสไฟฟ้าจะเดินทางจากปลายแขนงทั้งสองไปยังเส้นใย
นำไฟฟ้าที่กระจาย อยู่ทั่วไปตามกล้ามเนื้อหัวใจ ซึ่งเราเรียกเส้นใยเหล่านี้
ว่า Purkinje fibers และทำให้กล้ามเนื้อ หัวใจห้องล่างบีบตัวในที่สุดใน
จังหวะหัวใจบีบตัว(systole)

.

เยื่อหุ้มหัวใจ

http://img87.imageshack.us/img87/310/heartpericardialsac6131.jpghttp://img98.imageshack.us/img98/5428/pericardium161677606169.jpg
เยื่อหุ้มหัวใจ ลักษณะเป็นถุงรูปโคน ซึ่งมีหัวใจและส่วนต้นของเส้นเลือดแดงที่ออกจากหัวใจอยู่ภายในถุง
เยื่อหุ้มหัวใจ ประกอบด้วยแผ่น 2 แผ่นคือแผ่นด้านนอก และแผ่นด้านในซึ่งหุ้มรอบหัวใจอยู่ ระหว่างแผ่น 2 แผ่นเป็นช่องของเยื่อหุ้ม หัวใจ ซึ่งโดยปกติแล้วช่องนี้จะแฟบปิด แต่ในภาวะที่มีโรคที่เกี่ยวกับเยื่อหุ้มหัวใจ อาจจะทำให้มีน้ำสะสมอยู่ในช่องดังกล่าว ซึ่งถ้ามี ปริมาณมาก จะไปกดการคลายตัวของหัวใจโดยตรง


.

โครงสร้างผนังของหัวใจ

โครงสร้างผนังของหัวใจ ประกอบด้วย 3 ชั้นคือ
1.แผ่นหุ้มหัวใจด้านนอก(epicardium) เป็นส่วนของแผ่นด้านในของเยื่อหุ้มหัวใจ

http://img75.imageshack.us/img75/2842/cutheartanteriorepicard.jpg

2.กล้ามเนื้อหัวใจ(myocardium)

http://img381.imageshack.us/img381/7060/papillarymuscleart64449.jpg

3.ผนังหัวใจด้านใน(endocardium)


http://img136.imageshack.us/img136/6561/2165823706584418.jpg

เป็นแผ่นบางบุผนังด้านในของหัวใจ รวมทั้งเป็นส่วนของลิ้นหัวใจ


.
.

ลิ้นหัวใจ - cardiac valve,Heart valve

ลิ้นหัวใจ คนเรามีทั้งหมด 4 ลิ้น ทำหน้าที่ควบคุมการไหลเวียนของเลือดภายในหัวใจ จากหัวใจห้องบน ไปหัวใจห้องล่างและ ออกสู่เส้น เลือดเอออร์ตา และเส้นเลือดพัลโมนารี่

http://img291.imageshack.us/img291/7226/insideheart49546389.jpg
คำที่เกี่ยวข้อง ลิ้นหัวใจยาว ,ลิ้นหัวใจเทียม , ชนิดของโรคหัวใจ

ลิ้นหัวใจไตรคัสปิด(Tricuspid valve) กั้นระหว่างหัวใจห้องบนขวา
และห้องล่างขวา ประกอบด้วยแผ่น ลิ้นหัวใจรูปสามเหลี่ยม 3 แผ่นจะเปิด
ในจังหวหัวใจคลายตัวทำให้เลือดไหลจากหัวใจห้องบน ขวาสู่ห้องล่าง
ขวา
ลิ้นหัวใจไมตรัล(Mitral valve) กั้นระหว่างหัวใจห้องบนซ้ายและหัวใจ
ห้องล่างซ้าย ประกอบด้วยแผ่นลิ้น หัวใจรูปสามเหลี่ยม 2 แผ่นจะ เปิดใน
จังหวะหัวใจคลายตัว ทำให ้เลือดไหลจากหัวใจห้องบนซ้ายสู่ห้องล่างซ้าย
ลิ้นหัวใจพัลโมนิค(Pulmonic valve) กั้นระหว่างหัวใจห้องล่างขวา
และเส้นเลือดแดง พัลโมนารี่ ประกอบด้วยแผ่นลิ้นหัวใจ 3 แผ่น รูปคล้าย
เสี้ยวพระจันทร์ โดยมีด้านนูนหันไป ทางเส้นเลือดแดง พัลโมนารี่ จะเปิด
ในจังหวะหัวใจบีบตัว ทำให้เลือดไหลจากหัวใจห้องล่างขวาไปเส้นเลือด
แดงพัลโมนารี่
ลิ้นหัวใจเอออร์ติค(Aortic valve) กั้นระหว่างหัวใจห้องล่างซ้ายและ เส้นเลือดเอออร์ตา ประกอบด้วยแผ่น ลิ้นหัวใจ 3 แผ่นรูปคล้ายเสี้ยวพระ จันทร์ โดยมี 2 แผ่นอยู่ด้านหน้าและ 1 แผ่นอยู่ด้านหลังจะเปิดในจังหวะ
หัวใจบีบตัว ทำให้เลือดไหลจากหัวใจห้องล่างซ้ายไปเส้น เลือดแดงเอออร์ตา


.

แบ่งห้องของหัวใจ - Heart atrium , ventricle

หัวใจ แบ่งเป็น 4 ห้อง ได้แก่ หัวใจห้องบนขวา(right atrium), หัวใจห้องบนซ้าย(left atrium), หัวใจห้องล่างขวา(right ventricle), หัวใจห้องล่างซ้าย(left ventricle)

41416
คำที่เกี่ยวข้อง : โครงสร้างหัวใจ ,หัวใจทำงานอย่างไร ,ภาวะหัวใจโต ,การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ , ลิ้นหัวใจยาว

หัวใจห้องบนขวา มีขนาดใหญ่กว่าหัวใจห้องบนซ้าย แต่ มีผนังบางกว่าห้องบนซ้าย คือประมาณ 2 มิลลิเมตร และมีความจุ ประมาณ 57 ซีซี
หัวใจห้องบนซ้าย มีขนาดเล็กกว่าหัวใจห้องบนขวา และมีผนังหนากว่า คือประมาณ 3 มิลลิเมตร แยกจากหัวใจห้องบนขวาโดย ผนังกั้นหัวใจส่วนบน
หัวใจห้องล่างขวา มีรูปร่างสามเหลี่ยม ต่อจากหัวใจห้องบนขวา โดยมีลิ้นหัวใจไตรคัสปิดกั้น แบ่งหัวใจห้องบนขวาและล่างขวา ผนัง หัวใจห้องล่างขวาจะบางกว่าห้องล่างซ้ายในอัตราส่วน 1:3 แต่จะมี ความจุเท่ากับหัวใจห้องล่างซ้ายคือ ประมาณ 85 ซีซี หัวใจห้องล่าง ขวาจะต่อกับเส้นเลือดแดงพัลโมนารี่ โดยมีลิ้นหัวใจพัลโมนิคกั้นระหว่างกัน
หัวใจห้องล่างซ้าย มีรูปร่างเป็นรูปโคน และเมื่อตัดขวางจะมีรูปร่างคล้ายวงรีหรือค่อนข้างกลม และประกอบเป็นส่วนของยอด หัวใจ โดยมีผนังหนาเป็น 3 เท่าของหัวใจห้องล่างขวา


.

ส่วนประกอบต่างๆ ของหัวใจ

หัวใจ เป็นอวัยวะภายใน รูปร่างคล้ายโคน โดยมีปลายโคนชี้ลงไปทางด้านล่างซ้าย ตั้งอยู่ภายใน ทรวงอก อยู่ระหว่าง ปอดทั้งสอง ข้าง ด้านหลังของกระดูกหน้าอก โดยค่อนไปทางด้านซ้าย ส่วนของหัวใจ 2ใน3 จะอยู่ทางด้านซ้าย จากแนวกึ่งกลางตัว และ 1ใน3 จะอยู่ทางด้านขวาจากแนวกึ่งกลางตัว

http://img97.imageshack.us/img97/1185/somatomcardiac6770686.jpg

คำที่เกี่ยวข้อง : ภาวะหัวใจโต ,โครงสร้างหัวใจ ,เรียนรู้เรื่องโรคหัวใจ , การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ


ขนาดของหัวใจ
หัวใจในผู้ใหญ่ มีความยาวประมาณ 12 เซนติเมตร และกว้างประมาณ 8-9 เซนติเมตรในบริเวณที่กว้างสุด และ มีความหนา ประมาณ 6 เซนติเมตร

น้ำหนักของหัวใจ ในผู้ชายมีน้ำหนักประมาณ 280-340 กรัม ในผู้หญิงมีน้ำหนักประมาณ 230-280 กรัม และหัวใจจะมีการขยายขนาด และน้ำหนักมากขี้นตามอายุ โดยในผู้ชายจะมีการขยายขนาดมากกว่าในผู้หญิง



หัวใจ ประกอบด้วย ส่วนสำคัญต่างๆดังนี้




กำเนิดของหัวใจ พัฒนาการของหัวใจ - Development of the heart

หัวใจ เริ่มก่อกำเนิดขึ้นในตัวอ่อน จากเซลล์สร้างหลอดเลือด ที่อยู่
บริเวณที่เราเรียกว่า cardiogenic plate ซึ่งเริ่มเห็นได้ในตัวอ่อน ที่มีอายุ
ประมาณ 2 สัปดาห์

หลังจากนั้นเซลล์สร้างหลอดเลือดจะรวมตัวกันเกิดเป็นท่อ 2 ท่อ
ด้านซ้ายและด้านขวา และท่อทั้งสอง เคลื่อนหากันรวมกันเป็นท่อๆเดียว
ที่เราเรียกว่า Heart tube ในประมาณสัปดาห์ที่ 3


http://www.perfectheart.co.th/images/newpicture/embryo2wk.jpg
หลังจากนั้น Heart tube จะค่อยๆดันตัวเองเข้าไปในถุงที่เราเรียกว่า ถุงเยื่อหุ้มหัวใจ และขณะ
เดียวกันก็จะมีการแบ่งส่วนภายในหัวใจเป็นห้องและลิ้นหัวใจและเส้นเลือดต่างๆ และหัวใจจะเริ่ม
เต้นในสัปดาห์ที่ 4 ช่วงที่ตัวอ่อนมีอายุประมาณ 22 วัน
จนกระทั่งในสัปดาห์ที่ 8 เส้นเลือดแดงเอออร์ตา และเส้นเลือดแดงพัลโมนารี่ จะแยกตัวกัน
อย่างสมบูรณ์
http://www.thaiheartclinic.com/picture/heartanatomy/embryo5wk.jpg


.

โครงสร้างหัวใจ

หัวใจ (Heart) เป็นอวัยวะที่มีความมหัศจรรย์มาก กลุ่มเซลล์มีการก่อร่างสร้างหัวใจขึ้นตั้งแต่ยังเป็นตัวอ่อนในครรภ์มารดา หัวใจเริ่มเต้นแล้ว และจะเต้นตลอดไป ไม่มีวันหยุดตราบเท่าที่ยังมีชีวิต หัวใจไม่เคยมีวันพัก จึงเป็นอวัยวะที่มีความแข็งแรงมาก ก็ไม่ทราบเหมือนกัน ว่าทำไมใครๆจึงชอบเปรียบเทียบ เรื่องของอารมณ์ จิตใจเป็น”หัวใจ”ไปเสียหมด ทั้งๆที่ความจริงแล้วหัวใจคนเราแข็งแรงกว่า จิตใจมากนัก

http://img143.imageshack.us/img143/9643/26903215.jpg

เราสามารถแบ่งหัวใจออกตามลักษณะ (กายวิภาค Anatomy of heart) และตามหน้าที่
(Function of heart )ได้ ดังนี้


เยื่อหุ้มหัวใจ (pericardium) เป็นเยื่อบางๆ ใสๆ ห่อหุ้มหัวใจไว้ เป็นสาเหตุของโรคบางชนิด เช่น เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ ติดเชื้อ มะเร็งแพร่กระจาย มายังเยื่อหุ้มหัวใจ เป็นต้น เยื่อหุ้มหัวใจเป็นอวัยวะที่สำคัญแต่ไม่จำเป็นถึงชีวิต ในกรณีที่เป็นโรค เราอาจทำการผ่าตัดเลาะ เยื่อหุ้มหัวใจทิ้งได้

หลอดเลือดหัวใจ จะอยู่บริเวณภายนอกหัวใจ (ที่มีเยื่อหุ้มหัวใจอยู่ ) ส่ง แขนงเล็กๆลงไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ หลอดเลือดหัวใจมีเส้นใหญ่ๆ อยู่ 2 เส้น คือ ขวา (right coronary artery) เลี้ยงหัวใจด้านขวา และซ้าย (left coronary artery) เลี้ยงหัวใจด้านซ้ายเป็นส่วนใหญ่ ด้านซ้ายจะแตกแขนงใหญ่ๆ 2 แขนง คือ left anterior descending artery และ left circumflex artery ซึ่งจะมีแขนงเล็กๆ อีกมากมาย โรคของหลอดเลือดหัวใจอาจเกิดจากหลายสาเหตุ แต่ที่พบบ่อยที่สุด เกิดจากการสะสมของไขมันที่ผนัง ทำให้หลอด เลือดหัวใจตีบและตันในที่สุด (ไม่ใช่มีก้อนไขมันในเลือดลอยไปอุดตัน ตามที่เข้าใจกัน)

กล้ามเนื้อหัวใจ เป็นส่วนที่ทำหน้าที่ในการบีบตัวไล่เลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย และขยายตัวเพื่อรับเลือดกลับเข้าสู่หัวใจ จึงเป็นส่วนที่มี ความสำคัญอย่างมาก หากกล้ามเนื้อหัวใจบีบตัวหรือคลายตัวผิดปกติแล้ว ก็จะทำให้เกิดปัญหาต่างๆตามมา ซึ่งส่วน มากอาจไม่สามารถแก้ไขให้กลับเป็นปกติได้ การทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจต้องอาศัยพลังงานที่ได้จากสารอาหารที่ถูกนำมาโดย หลอดเลือดหัวใจ ดังนั้นโรคของหลอดเลือดหัวใจจึงมีผลต่อกล้ามเนื้อหัวใจ โดยตรง

ลิ้นหัวใจ และ ผนังกั้นห้องหัวใจ หัวใจคนเรามี 4 ห้องแบ่ง ซ้าย-ขวา โดยผนังของกล้ามเนื้อหัวใจ และแบ่งห้อง บน-ล่าง โดยลิ้นหัวใจ เลือดระหว่างห้องซ้าย-ขวาจึงไม่ปะปนกัน ในบางครั้งการสร้างผนังกันห้องหัวใจไม่สมบูรณ์ เกิดเป็นรูโหว่ขึ้นได้ เป็นชนิดหนึ่งของโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด ลิ้นหัวใจทำหน้าที่ให้เลือดไหลผ่านและไม่ไหลย้อนกลับ ดังนั้นหากลิ้นหัวใจผิดปกติ เช่น ตีบ ฉีกขาด ปิดไม่สนิท(รั่ว) ก็ย่อมทำให้เกิดโรคต่างๆขึ้น โรคลิ้นหัวใจที่เป็นปัญหามากที่สุดคือลิ้นหัวใจพิการรูมาห์ติค ซึ่งเป็นผล จากการติดเชื้อคออักเสบ

ภาพหัวใจแนวตัดจากบนลงล่าง
http://img25.imageshack.us/img25/6589/cardiacconductionsystem.jpg
ระบบไฟฟ้าหัวใจ การที่หัวใจสามารถเต้นได้นั้น เนื่องจากหัวใจส่งกระแสไฟฟ้าที่สร้างขึ้นเอง จากหัวใจห้องขวาบนมายัง หัวใจห้อง ซ้ายบนและห้องล่าง เมื่อไฟฟ้าผ่านไปจะกระตุ้นให้กล้ามเนื้อหัวใจเกิดการบีบตัวไล่เลือด เลือดจึงไหลอย่างมีระเบียบ ดังนั้น หากระบบ ไฟฟ้าผิดปกติไป ไม่ว่าเกิดจากสาเหตุใดก็ตาม ก็จะชักนำให้เกิดการเต้นที่ผิดจังหวะ ผิดปกติ ซึ่งบางครั้งรุนแรงมาก จนทำให้ เสียชีวิต

บทความที่เกี่ยวข้อง

.

Popular Posts

  ©Template Blogger Green by Dicas Blogger.

TOPO