โรคหัวใจยังคงเป็นสาเหตุการตายอันดับต้นๆ ทั้งในผู้หญิง และผู้ชาย แม้พันธุกรรมจะเป็นความเสี่ยงที่เปลี่ยนไม่ได้ แต่สิ่งที่เราควบคุมได้คืออาหาร การออกกำลังกาย และงดบุหรี่ ล่าสุดมีอาหาร 5 ชนิดที่มีข้อมูลการวิจัยที่โดดเด่น ที่แสดงให้เห็นว่าการบริโภคอาหารเหล่านี้สม่ำเสมอ สามารถลดความเสี่ยงโรคหัวใจ
อาหารมากมายที่วารสารการวิจัยทางการแพทย์หลายๆ ฉบับระบุว่าช่วยส่งเสริมให้ระบบกาารทำงานของหัวใจ และหลอดเลือดแข็งแรงมีสุขภาพดีขึ้นอย่างชัดเจน โดยหากแบ่งตามหน้าที่การทำงานหลักของอาหารเหล่านั้นจะแบ่งชนิดหลัก ที่จะช่วยส่งเสริม ให้ระบบกาารทำงานของหัวใจและหลอดเลือดมีสุขภาพดีขึ้น
1. ถั่วเมล็ดแห้ง
การวิจัยจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด พบว่าการบริโภคถั่ววันละ 1 ที่เสิร์ฟ (ประมาณ 1/2 ถ้วยตวงสุก) ลดความเสี่ยงโรคหัวใจ 38% ถั่วมีใยอาหารชนิดละลายน้ำได้ ซึ่งช่วยลดคอเลสเทอรอลในเลือด ในขณะที่โฟเลทช่วยรักษาระดับโฮโมซิสเทอีนให้ปกติ หากระดับโฮโมซิสเทอีนในเลือดสูงจะเป็นสัญญาณความเสี่ยง ของหลอดเลือดแดงอุดตัน และถั่วมีโปตัสเซียมสูงซึ่งช่วยควบคุมความดันโลหิต ยิ่งไปกว่านี้งานวิจัยเมื่อเร็วๆนี้เปิดเผยว่าถั่วเป็นหนึ่งในแหล่งอาหาร ที่จัดว่ามีสารแอนติออกซิแดนท์สูงที่สุด ข้อแนะนำคือบริโภคถั่วสัปดาห์ละ 3 - 4 ครั้ง ( ครั้งละ1/2 ถ้วยตวง (สุก) )
2. อาหารพวกปลา
จากการรวบรวมข้อมูลการวิจัย 11 รายงานพบว่าผู้ ที่มีความเสี่ยงโรคหัวใจ เพียงบริโภคปลาสัปดาห์ละ 2-3 ที่เสิร์ฟ (ประมาณ 180-270กรัม) ก็ช่วยลดความเสี่ยงการเสียชีวิตจากโรคหัวใจ 40-60% เมื่อเปรียบเทียบ กับผู้ที่ไม่บริโภคปลา นอกจากนี้ในผู้ชาย ที่เคยมีหัวใจวายมาก่อน มี 2 รายงานชี้แนะว่า ผู้ที่บริโภคปลาอย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 มื้อ โอกาสที่จะเสียชีวิตจากหัวใจวายครั้งที่ 2 ลดลงอย่างชัดเจน
กรดโอเมกา 3 ช่วยป้องกันหัวใจเต้นผิดจังหวะ และมีผลต้านการอักเสบซึ่งช่วยป้องกันการแข็งตัวของเลือด ช่วยลดระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือด ข้อแนะนำคือ บริโภคปลาอย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 ครั้งๆ ละ 90 กรัม (สุก) เช่น ปลาแซลมอน ซาร์ดีน ไส้ตัน อินทรีย์ ทูน่า เฮอริ่ง และปลาเทร้า
3. ถั่วเปลือกแข็ง
ถั่วเปลือกแข็ง ได้แก่ อัลมอนด์ , มะม่วงหิมพานต์ , ถั่งลิสง(เม็ดใหญ่) , มะคาดาเมีย , พิสตาชิโอ , วอลนัท และพีคอน ถั่วประเภทนี้มักจะมีไขมันสูง แต่จัดเป็นไขมันที่ดี การเติมถั่วลงในอาหารในชีวิตประจำวัน จะช่วยให้หัวใจมีสุขภาพดีขึ้น การวิจัยจากฮาร์วาร์ด และมหาวิทยาลัยโลมาลินดา ชี้ให้เห็นว่าการบริโภคถั่วสัปดาห์ละ 150 กรัมขึ้นไป (เฉลี่ยวันละประมาณ 22 กรัม) ลดโอกาสเกิดโรคหัวใจและเสียชีวิต 35-50% ในด้านสุขภาพ แพทย์พบว่า การบริโภคถั่วเปลือกแข็งเพียงสัปดาห์ละ 2 ครั้ง ลดความเสี่ยงการเสียชีวิตกะทันหันจากโรคหัวใจ 47% และการเสียชีวิตจากความเสี่ยงโดยรวมของโรคหัวใจ 30%
ถั่วเปลือกแข็งมีสัดส่วน ของไขมันไม่อิ่มตัวตำแหน่งเดียวมากกว่าไขมันชนิดอื่น และเมื่อบริโภคถั่วแทนไขมันอิ่มตัวจะช่วยลดคอเลสเทอรอลรวม และลดแอลดีแอลคอเลสเทอรอล ถั่วยังมีกรดอะมิโนอาร์จินีนสูง ซึ่งให้ประโยชน์ในการช่วยรักษาความยืดหยุ่น ของหลอดเลือดแดง ช่วยลดความเสี่ยงการอุดตันของหลอดเลือด นอกจากนี้ยังมีสารพฤกษเคมี เรสเวอราทอล (resveratol) ซึ่งอาจช่วยป้องกันโรคหัวใจ
ถั่วเปลือกแข็งแม้จะเป็นอาหารที่จัดว่ายอดเยี่ยมต่อสุขภาพ แต่มีปริมาณแคลอรีค่อนข้างสูง ดังนั้นหากกินโดยไม่บันยะบันยัง ก็อ้วนลูกเดียว ผู้เขียนแนะนำว่าเมื่อกินถั่วก็ควรลดไขมันที่ไม่ดีในอาหารลง จะได้ไม่มีปัญหาน้ำหนักตัว
4. ข้าวโอ๊ต
มีงานวิจัยทางด้านคลินิกมากกว่า 50 รายงานที่ชี้ว่าข้าวโอ๊ตชนิดเกล็ด หรือชนิดสำเร็จรูปช่วยลดคอเลสเทอรอล นักวิจัยจากมหาวิทยาลัย Minnesota วิเคราะห์จากงานวิจัยทางคลินิก 20 งาน พบว่าหากบริโภคข้าวโอ๊ตสุกวันละ 1/2 ถ้วยตวง สามารถลดคอเลสเทอรอลโดยเฉลี่ยได้ถึง 6 มก./ดล.ซึ่งมีความหมาย กับสุขภาพอย่างมากเพราะทุกๆ 1% ที่คอเลสเทอรอลลดลงจะช่วยลดความเสี่ยงโรคหัวใจถึง 2%
ข้าวโอ๊ตมีดีกว่าเมล็ดธัญพืชอื่นๆ ตรงที่มีใยอาหารชนิดละลายน้ำได้สูงกว่า ใยอาหารที่มีในข้าวโอ๊ตคือ เบต้ากลูแคน แต่มีข้อแม้ว่าจะต้องได้สารเบต้ากลูแคนอย่างน้อยวันละ 3 กรัม ซึ่งเท่ากับข้าวโอ๊ต 1 ถ้วยตวง และอาหารที่กิน ในชีวิตประจำวันจะต้องมีไขมันต่ำด้วยจึงจะให้ผล งานวิจัยเมื่อไม่นานอีกเช่นกันพบว่าการบริโภคข้าวโอ๊ตวันละ 1 ถ้วยตวงช่วยลดระดับคอเลสเทอรอล 8-23% นอกจากนี้ข้าวโอ๊ตยังมีสารพฤกษเคมี อะเวนานทราไมด์ ( Avenanthramides ) ซึ่งช่วยลดคอเลสเทอรอลอีกแรง นักวิจัยจึงแนะนำข้าวโอ๊ตสุกวันละ 11/2 ถ้วยตวง
นอกจากเรื่องของคอเลสเทอรอลแล้ว ข้าวโอ๊ตยังมีผลในการช่วยปรับระดับน้ำตาลในเลือด และระดับอินซูลิน และความดันโลหิตอีกด้วย
5. น้ำมันมะกอก
มีกรดไขมันที่ดีต่อหัวใจ คือ ไขมันไม่อิ่มตัวตำแหน่งเดียวในปริมาณมาก และกรดไขมันอิ่มตัวต่ำ ซึ่งมีข้อมูลยืนยันอีกเช่นกันว่ าช่วยลดความเสี่ยงหลอดเลือดแดงอุดตัน และโรคหัวใจ 8-45% และยังช่วยลดระดับความดันโลหิตด้วย
น้ำมันมะกอกช่วยป้องกันปฏิกิริยาอ๊อกซิเดชั่น ของแอลดีแอลซึ่งเป็นขั้นตอนแรกของการเกิดหลอดเลือดแดงอุดตัน นอกจากนี้น้ำมันมะกอกยังอุดมไปด้วยสารแอนติออกซิแดนท์ ซึ่งช่วยป้องกันอนุมูลอิสระที่จะทำอันตรายต่อร่างกาย และป้องกันวิตามินอีในร่างกายถูกทำลาย น้ำมันมะกอกยังมีสาร ที่ช่วยป้องกันการอักเสบได้ดีเท่าๆ กับยาอิบูโพรเฟนเป็นการช่วยลดการอุดตัน ของหลอดเลือดแดง
คุณอาจอยากรู้เรื่องเหล่านี้
- ป้องกัน โรคหัวใจ-หลอดเลือด ด้วยอาหารธัญพืชไม่ขัดขาว
- คุณประโยชน์ของช็อกโกแลต ต่อสุขภาพหัวใจ
- กินเค็ม ระวังความดันสูง
คำที่เกี่ยวข้อง : อาหารป้องกันโรคหัวใจ,ถั่วเมล็ดแห้ง,อาหารพวกปลา,ถั่วเปลือกแข็ง,ข้าวโอ๊ต,น้ำมันมะกอก
ป้องกันโรคหัวใจ-หลอดเลือด ด้วยอาหารธัญพืชไม่ขัดขาว ไม่ขัดสี
อาหารธัญพืช อาหารธัญพืชไม่ขัดขาว ธัญพืชไม่ขัดสี ช่วยป้องกัน โรคหัวใจ-หลอดเลือดในสมอง หลอดเลือดตีบ หลอดเลือดอุดตันได้
ผลการศึกษาของนักวิจัยในสหรัฐฯพบว่า การรับประทานธัญพืชไม่ขัดสีเป็นจำนวนมาก ช่วยให้หลอดเลือดมีสุขภาพดี ป้องกันความเสี่ยงที่จะเกิดโรคหัวใจและโรคหลอดเลือดในสมองได้
จากผลสรุประบุว่า ธัญพืชไม่ขัดสีหรือธัญพืชไม่ขัดขาว มีคุณค่าทางโภชนาการสูงและซับซ้อน เพราะนอกจากมีเส้นใยสูงแล้ว ยังมีวิตามินบี วิตามินอี และสารอาหารอีกหลายอย่าง แต่มีชาวอเมริกันไม่ถึงร้อยละ 10 ที่รับประทานธัญพืชไม่ขัดสีวันละ 3 มื้อ ตามที่กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ แนะนำ ส่วนใหญ่ รับประทานไม่ถึงวันละ 1 มื้อ คณะนักวิจัยแนะนำให้เพิ่มขนมปังแป้งไม่ขัดขาวหนึ่งแผ่น หรือซีเรียลไม่ขัดสี 1 ถ้วย ในอาหารแต่ละมื้อเพื่อเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการ
คำที่เกี่ยวข้อง : อาหารป้องกันโรคหัวใจ อาหารบำรุงหัวใจ อาหารป้องกันหลอดเลือดตีบ ธัญพืชไม่ขัดขาว ธัญพืชไม่ขัดสี อาหารป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง
ที่มา : ไทยรัฐ
คำที่เกี่ยวข้อง : อาหารป้องกันโรคหัวใจ อาหารบำรุงหัวใจ อาหารป้องกันหลอดเลือดตีบ ธัญพืชไม่ขัดขาว ธัญพืชไม่ขัดสี อาหารป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง
ที่มา : ไทยรัฐ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
Popular Posts
-
หัวใจของคนเราประกอบไปด้วย หัวใจห้องล่างสองห้องคือซ้ายและขวา( Left or Right Ventricle )และหัวใจห้องบนสองห้องคือขวาและซ้าย ( Left or Right Atr...
-
“โรคหัวใจ” เป็นคำที่กว้าง และฟังดูน่ากลัว แบ่งได้หลายชนิด ดังนี้ โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด คือเป็นตั้งแต่เกิด อาจวินิจฉัยได้ตั้งแต่แรกคลอด หร...
-
ไข้รูมาติก/Rheumatic Fever พบในคนทุกวัย แต่จะพบมากในเด็กอายุ 5-15 ปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในครอบครัวที่ฐานะค่อนข้างยากจน หรือ อยู่กันอย่างแออัด...
-
ลิ้นหัวใจ คนเรามีทั้งหมด 4 ลิ้น ทำหน้าที่ควบคุมการไหลเวียนของเลือดภายในหัวใจ จากหัวใจห้องบน ไปหัวใจห้องล่างและ ออกสู่เส้น เลือดเอออร์...
-
เส้นเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจ เรียกว่า เส้นเลือดแดงโคโรนารี่ มีรูเปิดอยู่ที่บริเวณโคนของเส้นเลือดแดงเอออร์ตา แบ่งเป็น 2 เส้น คือ เส้น...