โรคหัวใจรูมาติก -ไข้รูมาติก /Rheumatic Fever-RHD - สาเหตุ อาการ การรักษา การป้องกัน


ไข้รูมาติก/Rheumatic Fever
พบในคนทุกวัย แต่จะพบมากในเด็กอายุ 5-15 ปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในครอบครัวที่ฐานะค่อนข้างยากจน หรือ อยู่กันอย่างแออัด ผู้ป่วยไข้รูมาติก จะมีการอักเสบของข้อและหัวใจพร้อม ๆ กัน ถ้า ปล่อยให้มีอาการกำเริบซ้ำ ๆ ซาก ๆ จะทำให้หัวใจมีการอักเสบเรื้อรัง และในที่สุดลิ้นหัวใจจะเกิดการพิการ คือ ตีบและรั่ว เมื่อถึงขั้นนี้ เรา เรียกโรคลิ้นหัวใจพิการชนิดนี้ว่า โรคหัวใจรูมาติก (rheumatic heart disease/RHD) ในประเทศเรามีการสำรวจพบว่า ในหมู่นักเรียนอายุ 5-15 ปี ในบาง ท้องที่ มีผู้ป่วยหัวใจรูมาติกประมาณ 0.5-2.1 ต่อนักเรียน 1,000 คน

สาเหตุไข้รูมาติก/Rheumatic Fever
เกิดจาก พยาธิสภาพที่หลงเหลืออยู่ภายหลังการเป็นโรคไข้รูมาติกชนิดที่มีการอักเสบของ หัวใจโดยเฉพาะที่ลิ้นหัวใจร่วมด้วย เนื่องจากโรคไข้รูมาติกเป็นโรคซึ่งพบได้บ่อยในประชากรที่ยากจนซึ่งเป็นชน ส่วนใหญ่ของประเทศที่กําลังพัฒนา โรคหัวใจรูมาติกจึงยังคงเป็นปัญหาใหญ่ทางสาธารณสุขสําหรับประเทศเหล่านี้ ซึ่งรวมทั้งประเทศไทยด้วย ทั้งนี้ก็เพราะสภาพด้อยทางเศรษฐกิจและสังคม จากความยากจนทําให้ประชากรส่วนหนึ่งพยายาม หนีความยากจนในต่างจังหวัดเดินทางเข้าสู่เมืองใหญ่ เช่น กรุงเทพมหานคร เพื่อหางานทํา ซึ่งลงท้ายก็มักจะทํางานตามโรงงานซึ่งจะอยู่กันอย่างแออัด และไม่ถูกต้องตามสุขลักษณะ

เมื่อไรก็ตามถ้ามีคนใดคนหนึ่งเป็นโรค ต่อมทอนซิล หรือคออักเสบจากเชื้อโรค เบต้าเสตรปโตคอคคัสกลุ่ม เอ ผู้ที่อยู่ใกล้ชิดก็มีโอกาสติดโรคทําให้ทอนซิลหรือคออักเสบจากเชื้อโรคตัว เดียวกันนี้ได้ และในคนที่คออักเสบจากเชื้อโรคตัวนี้ ประมาณร้อยละ 0.3 ถึง 3 จะมีโอกาสเป็นโรคค่อนข้างร้ายแรงซึ่งเรียกว่า
"โรคไข้รูมาติก"

http://img215.imageshack.us/img215/166/1969479960727998382.jpghttp://img20.imageshack.us/img20/1669/heartvalve8048209.jpg

โรค ไข้รูมาติกเป็นโรคที่เกิดขึ้นตามหลังภาวะต่อมทอนซิลหรือคออักเสบจากเชื้อโรค ตัวพิเศษที่ชื่อ เบต้าเสตรปโตคอคคัสกลุ่ม เอ ความผิดปกติทางพันธุกรรมทําให้ร่างกายของผู้ป่วยมีปฏิกริยาตอบสนองต่อการติด เชื้อจากเชื้อโรคตัวนี้ผิดไปจากคนธรรมดา ทําให้เกิดพยาธิสภาพจากการอักเสบที่อวัยวะต่างๆจนทําให้เกิดอาการ เช่น

ที่ผิวหนังจะมีผื่นแดงรูปร่างคล้ายแผนที่ ที่ชั้นใต้ผิวหนังจะเกิดเป็นตุ่มแข็งโดยมากมีขนาดเท่าๆกับเม็ดถั่วเขียวหรือ อาจใหญ่กว่าเม็ดถั่วลิสงซึ่งพบได้บริเวณท้ายทอย ตามแนวกระดูกสันหลัง หลังศอก หลังมือ หน้าเข่า และหลังเท้า

ตามข้อใหญ่ๆจะมีการอักเสบทําให้ข้อบวมและปวด พบได้ที่ข้อไหล่ ข้อศอก ข้อมือ ข้อสะโพก ข้อเข่า และข้อเท้า

อาการ
ไข้รูมาติก/Rheumatic Fever
ทางสมองที่อาจจะพบได้แก่ การที่เจ้าตัวควบคุมกล้ามเนื้อของตัวเองให้ทํางานตามต้องการไม่ได้ตามปกติ ถ้าเป็นมากจะเขียนหนังสือไม่ได้ ตักอาหารใส่ปากเองไม่ได้ เดินไม่ได้ และอาจมีการแปรเปลี่ยนทางอารมณ์ร่วมด้วย
http://img252.imageshack.us/img252/6696/si55551473ma81854218188.jpghttp://img11.imageshack.us/img11/793/1949f182273818229237.jpg
อาการที่สําคัญมากที่สุดของโรคนี้คือ ผู้ป่วยที่มีอาการจากการอักเสบของหัวใจซึ่งถ้าเป็นน้อยๆ อาจจะไม่มีอาการชัดเจน แต่ถ้าเป็นมากจะมีอาการเหนื่อยง่าย หอบ บวมที่เท้าและขาเนื่องจากหัวใจล้มเหลวเพราะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ และลิ้นหัวใจรั่วจากการอักเสบ บางคนอาจจะเจ็บหน้าอกเนื่องจากเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ

อาการ
ไข้รูมาติก/Rheumatic Fever ลักษณะที่พบบ่อย คือ ผู้ป่วยจะมีอาการไข้และปวดบวมแดงร้อน ตามข้อใหญ่ ๆ เช่น ข้อเท้า ข้อเข่า ข้อมือ ข้อศอก ซึ่งมักจะเป็นมากกว่าหนึ่งข้อ โดยจะไม่ปวดขึ้นพร้อมกัน แต่จะปวดที่ข้อหนึ่งก่อน แล้วจึงปวดที่อีกข้อหนึ่ง แต่ละข้อจะมีอาการอักเสบอยู่นาน 5-10 วัน บางคนอาจเป็นเรื้อรังถึงกับลุกเดินไม่ได้เป็นแรมเดือน

อาการปวดบวมตามข้อมักจะหายได้เอง (แม้ไม่ได้รักษา) ข้อที่อักเสบจะกลับเป็นปกติ ไม่มีร่องรอยความพิการ
แต่อย่างไร โดยทั่วไป ผู้ป่วยมักมีอาการอ่อนเพีลย เบื่ออาหารน้ำหนักลดร่วมด้วย
ผู้ป่วยมักมีอาการอักเสบของหัวใจร่วมด้วย ถ้าเป็นไม่มากอาจไม่แสดงอาการให้เห็นชัดเจน ถ้าเป็นรุนแรงอาจทำให้มีอาการเหนื่อยง่าย ใจสั่น หอบ นอนราบไม่ได้ (เนื่องจากภาวะหัวใจวาย)
ผู้ป่วยอาจมีประวัติเป็นไข้เจ็บคอนำมาก่อนประมาณ 1-4 สัปดาห์ แต่บางคนอาจไม่มีก็ได้
นอกจากนี้ บางคนอาจมีอาการผื่นแดงขึ้นแผ่ออกโดยรอบ เป็นวงขอบแดง ตรงกลางขาว ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1-3 ซม. เรียกว่า อีริทีมามาร์จินาตุม (erythema marginatum) ไม่เจ็บ ไม่คัน และจางหายได้เองอย่างรวดเร็ว (บางครั้งอาจหายภายในวันเดียว) มักขึ้นตรงบริเวณก้นหรือแขนขาส่วนต้น ถ้าพบมักแสดงว่ามีการอักเสบของหัวใจร่วมด้วย

บางคนอาจมีตุ่มขึ้นอยู่ใต้ผิวหนัง (subcutaneous nodules) ตรงบริเวณข้อเท้า ข้อเข่า ข้อมือ ข้อศอก ไม่เจ็บ
จับให้เคลื่อนอยู่ใต้ผิวหนังได้ อาจมีขนาดเท่าเมล็ดถั่วเขียว หรือใหญ่ขนาด 2 ซม. ตุ่มนี้จะค่อย ๆ ยุบได้เอง
กินเวลาหลายสัปดาห์ ถ้าพบมักแสดงว่ามีการอักเสบของหัวใจร่วมด้วย
บางคนอาจมีการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อแขนขา หรือส่วนอื่น ๆ โดยที่ผู้ป่วยไม่สามารถบังคับได้ เช่น แขนขาขยุกขยิก หรือปัดแกว่งโดยไม่ได้ตั้งใจ บางคนอาจพูดไม่ชัดเขียนหนังสือหยิบของไม่ถนัด เป็นต้น
อาการแบบนี้เรียกว่า โคเรีย (chorea) เกิดจากมีความผิดปกติในสมองร่วมด้วย อาจพบเป็นอาการโดด ๆ หรือร่วมกับอาการอื่น ๆ ก็ได้ มักมีอาการหลังเจ็บคอ 1-6 เดือน (เกิดช้ากว่าอาการปวดข้อและอื่น ๆ) ถ้าพบมักแสดงว่ามีการอักเสบของหัวใจร่วมด้วย

สิ่งตรวจพบของ
ไข้รูมาติก/Rheumatic Fever

มักมีไข้ และข้อบวมแดงร้อน
อาจพบผื่นอีริทีมา มาร์จินาตุม ตุ่มใต้ผิวหนัง หรืออาการโคเรีย
อาจตรวจพบความผิดปกติของหัวใจ เช่น เต้นไม่สม่ำเสมอ หรือใช้เครื่องฟังตรวจมีเสียงฟู่ (murmur) ซึ่งมัก
จะพบตรงบริเวณใต้ราวนมซ้าย
ถ้าเป็นรุนแรง อาจพบอาการของหัวใจวาย เช่น หอบ บวม ใช้เครื่องฟังตรวจปอดมีเสียงกรอบแกรบ(crepitation)

อาการแทรกซ้อนของ
ไข้รูมาติก/Rheumatic Fever

ที่สำคัญได้แก่ โรคหัวใจรูมาติก ซึ่งจะเกิดขึ้นในผู้ป่วยไข้รูมาติก ที่ไม่ได้รับการรักษาอย่างจริงจัง แล้วมีการ
กำเริบของไข้รูมาติกซ้ำ ๆ ซาก ๆ ทำให้มีการอักเสบของหัวใจเรื้อรัง ในที่สุดลิ้นหัวใจเกิดการพิการอย่างถาวร
ผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจรูมาติก อาจไม่มีอาการแสดงอะไรในระยะแรก อาจตรวจพบโดยบังเอิญขณะตรวจเช็กร่างกาย
ซึ่งแพทย์จะใช้เครื่องฟังตรวจหัวใจได้ยินเสียงฟู่ (murmur) ที่บริเวณใต้ราวนมซ้าย
ถ้าหากไม่ได้รับการรักษา ในระยะอีกหลายปีต่อมาผู้ป่วยอาจเริ่มรู้สึกเหนื่อยง่าย ใจสั่น และเกิดภาวะหัวใจวายเรื้อรัง
กลายเป็นคนกึ่งพิการ

การรักษา
ไข้รูมาติก/Rheumatic Fever

1. หากสงสัยเป็นไข้รูมาติก ควรแนะนำผู้ป่วยไปตรวจรักษาที่โรงพยาบาลภายใน 24 ชั่วโมง ผู้ป่วยมักจะต้อง
พักรักษาตัวในโรงพยาบาล อาจต้องวินิจฉัยโดยการตรวจเลือด (ตรวจ ESR, ASO titer), ตรวจคลื่นหัวใจ, เอกซเรย์ และให้การรักษาด้วยเพนวี หรืออีริโทรไมซิน อย่างน้อย10 วัน และให้แอสไพริน 2-4 เม็ดทุก
6 ชั่วโมง
ในรายที่มีอาการหัวใจอักเสบรุนแรง อาจเพิ่มสเตอรอยด์ เช่น เพร็ดนิโซโลน
ถ้ามีภาวะหัวใจวาย ก็ให้การรักษาแบบภาวะหัวใจวายร่วมได้
เมื่ออาการหายดีแล้ว ควรนัดผู้ป่วยมาตรวจรักษาเป็นประจำ โดยจะให้ยาปฏิชีวนะติดต่อกันเป็นระยะยาวเพื่อป้องกัน
มิให้ลิ้นหัวใจพิการ กลายเป็นโรคหัวใจรูมาติก วิธีที่สะดวก คือ ฉีดเบนซาทีนเพนิซิลลินเดือนละครั้งในขนาด
1.2 ล้านยูนิต ทั้งเด็กและผู้ใหญ่, หรือให้กินเพนวี เด็กให้ขนาด 200,000 ยูนิต (ผู้ใหญ่ 400,000 ยูนิต) วันละ 2 ครั้ง ทุกวัน, หรืออีริโทรไมซิน เด็กให้ขนาด 125 มก. (ผู้ใหญ่ 250 มก.) วันละ 2 ครั้งทุกวัน หรือซัลฟา
ไดอาซีน ขนาด 1 กรัมวันละครั้ง (น้ำหนักต่ำกว่า 30 กิโลกรัม ให้วันละ 500 มก.) ทุกวัน
สำหรับผู้ป่วยที่มีการอักเสบของหัวใจร่วมด้วย หรือมีอาการโคเรีย ควรใช้ยาปฏิชีวนะไปตลอดชีวิต
ส่วนผู้ป่วยที่มีการอักเสบของหัวใจ ถ้าไม่มีอาการกำเริบอีก อาจใช้ยาปฏิชีวนะป้องกันติดต่อกันอย่างน้อย 5 ปี
(ยกเว้นในเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 10 ปี ควรให้จนกระทั่งอายุ 15 ปีเป็นอย่างน้อย)*

2. ในรายที่สงสัยเป็นโรคหัวใจรูมาติก เช่น ใช้เครื่องฟังหัวใจได้ยินเสียงฟู่ (murmur) ควรแนะนำให้ผู้ป่วยไป
ตรวจที่โรงพยาบาล ถ้าเป็นจริงก็อาจต้องกินยาปฏิชีวนะดังกล่าวไปตลอดชีวิต
ในรายที่มีภาวะหัวใจวาย ก็ต้องให้ยารักษาแบบภาวะหัวใจวาย
ส่วนในรายที่ลิ้นหัวใจพิการมาก จนผู้ป่วยมีภาวะหัวใจวายรุนแรง อาจต้องผ่าตัดขยายลิ้นหัวใจที่ตีบ
หรือใส่ลิ้นหัวใจเทียม ซึ่งจะช่วยให้มีชีวิตยืนยาวไปได้นาน

* จากรายงานสรุปผลการประชุม มติและข้อเสนอแนะ เรื่องการป้องกันและควบคุมโรคไข้รูมาติก และโรคหัวใจ
รูมาติกในประเทศไทย 26-28 ธันวาคม 2526, โรงแรมสยามเบย์วิว ชลบุรี. โดยกรมการแพทย์ร่วมกับคณะ
อนุกรรมการป้องกัน และควบคุมโรคไข้รูมาติก และโรคหัวใจรูมาติก

ข้อแนะนำ
1. ถ้าพบเด็กมีอาการปวดข้อ หรือมีอาการสงสัยว่าเป็นไข้รูมาติก ควรแนะนำไปตรวจที่โรงพยาบาลโดยเร็ว
และถ้าเป็นโรคนี้จริง ควรแนะนำให้ผู้ป่วยติดต่อรักษากับแพทย์เป็นประจำ จะช่วยป้องกันมิให้กลายเป็นโรคหัวใจรูมาติกได้

2. เนื่องจากโรคนี้ พบมากในเด็ก อายุ 5-15 ปี ซึ่งอยู่ในวัยเรียน ครูในโรงเรียนและเจ้าหน้าที่อนามัยโรงเรียน
จึงนับว่ามีบทบาทต่อการควบคุม และป้องกันโรคนี้ได้เป็นอย่างมาก ควรหาทางส่งเสริมสนับสนุนให้ครู และ
เจ้าหน้าที่อนามัยที่โรงเรียนมีความรู้ และมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาในเรื่องนี้

การป้องกัน
ไข้รูมาติก/Rheumatic Fever

โรคนี้สามารถป้องกันได้ด้วยการรักษาคออักเสบ หรือต่อมทอนซิลอักเสบ จากบีตาสเตรปโตค็อกคัสด้วยยาปฏิชีวนะ
ให้ได้ครบ 10 วันเป็นอย่างน้อย


ที่มา : enter.chandra.ac.th ,thailabonline.com,doctordek.com

.

Popular Posts

  ©Template Blogger Green by Dicas Blogger.

TOPO