หัวใจของคนเราประกอบไปด้วย หัวใจห้องล่างสองห้องคือซ้ายและขวา( Left or Right Ventricle )และหัวใจห้องบนสองห้องคือขวาและซ้าย ( Left or Right Atrium) การทำงานของหัวใจจะทำหน้าที่สูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกาย หัวใจจะได้รับไฟฟ้าซึ่งเกิดจากเซลล์ชนิดพิเศษในหัวใจซึ่งสามารถสร้างกระแส ไฟฟ้าเองซึ่งเรียกว่า Sinus node กระแสไฟฟ้าจะวิ่งผ่านไปตามกล้ามเนื้อหัวใจทำให้หัวใจบีบตัว
การ ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจเป็นวิธีการตรวจหาโรคหัวใจที่ง่ายและได้ผลดี การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจเป็นตรวจกระแสไฟฟ้าที่กล้ามเนื้อหัวใจผลิตออกมาขณะ ที่หัวใจบีบตัว โดยเริ่มต้นที่จุดที่เซลล์กล้ามเนื้อหัวใจชนิดพิเศษที่สามารถสร้างกระแส ไฟฟ้าได้เอง เราเรียกจุดนี้ว่า Sinus node กระแสไฟฟ้าจะวิ่งผ่านกล้ามเนื้อหัวห้องบน เกิดกระแสไฟฟ้าที่เราตรวจได้เรียก P wave กระแสจะมาหยุดที่รอยต่อระหว่างหัวใจห้องบนและห้องล่างเรียกว่า AV Node หลังจากนั้นกระแสไฟฟ้าจะวิ่งไปหัวใจห้องข่างล่าง?ั้งซ้ายและขวาและทำให้เกิด กระแสไฟฟ้าที่เรียกว่า QRS complex ดูตัวอย่างกราฟไฟฟ้าหัวใจของคนปกติ
คำที่เกี่ยวข้อง : ความรู้ เรื่องคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ,ประโยชน์ของการตรวจ คลื่นไฟฟ้าหัวใจ EKG , หัวใจทำงานอย่างไร?
กราฟดังกล่าวแสดงเฉพาะด้านใดด้านหนึ่ง โดยทั่วไปการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจแบบเป็น
- Limb Leads หมายถึงการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจโดยวัดที่แขนและขา การวัดนี้มี 6 ชื่อคือ Lead 1 , Lead2, Lead3, avr,avl,avf
- Chest Leads หมายถึงการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจโดยการตามกระแสไฟฟ้าหัวใจที่บริเวณหน้าอก มี 6 แนวได้แก่ V1,V2,V3,V4,V5,V6
ลองดูตัวอย่างกราฟไฟฟ้าหัวใจทั้งหมดของคนปกติ
คลื่นไฟฟ้าหัวใจจะบอกอะไรได้บ้าง?
คลื่นไฟฟ้าสามารถบอกให้เราทราบโรคของหัวใจและความผิดปกติของเกลือแร่โรคที่ใช้คลื่นไฟฟ้าในการช่วยวินิจฉัยได้แก่
- กล้าม เนื้อหัวใจขาดเลือด เช่นกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน หรือกล้ามเนื้อหัวใจตาย แต่สำหรับที่มีกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด แต่ไม่ถึงกับตาย การตรวจคลื่นไฟฟ้ากลุ่มนี้อาจจะให้ผลปกติซึ่งอาจจะต้องไปวิ่งสายพานเพื่อน ตรวจ ข้อต้องระวังอีกข้อคือในภาวะที่หัวใจขาดเลือดเฉียบพลันในชั่งเริ่มต้นการ ตรวจคลื่นไฟฟ้าอาจจะปกติได้ ต้องใช้วิธีตรวจซ้ำ
- กล้ามเนื้อหัวใจหนา
- โรคเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ
- ลิ่มเลือดอุดหลอดเลือด
- การเต้นหัวใจผิดปกติ
- เกลือแร่ผิดปกติ เช่นโปแตสเซี่ยมสูงไปหรือต่ำไป
แพทย์จะสั่งการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจในกรณีต่อไปนี้
- เมื่อคุณมีอาการเจ็บหน้าอก และแพทย์สงสัยว่าจะเกิดจากกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด หรือเจ็บหน้าอกจากเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ
- เพื่อตรวจดูคลื่อนไฟฟ้าหัวใจ
- เมื่อสงสัยว่ากล้ามเนื้อหัวใจจะหนา
- ติดตามผลการรักษา หรือผลข้างเคียงจากยา
- ตรวจดูเครื่องกระตุ้นหัวใจว่ายังทำงานเป็นปกติหรือไม่
- เช็คร่างกายหากคุณมีโรคความดันโลหิต เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง
การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจไม่สามารถบอกว่าเป็นหัวใจวาย
การเตรียมตัวสำหรับการตรวจ
การ ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจไม่เจ็บ ไม่เสียเวลา คุณนอนบนเตียงเจ้าหน้าที่จะเอาขั้วไฟฟ้ามาติดที่แขน ขา และหน้าอก หลังจากนั้นจะตรวจกระแสไฟฟ้าหัวใจใช้เวลาไม่ถึง 5 นาทีก็เสร็จ
ระหว่างการตรวจอย่าพูดหรือเคลื่อนไหวเพราะจะทำให้เกิดคลื่นรบกวนคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
การตรวจนี้เจ็บปวดหรือไม่?
ไม่มีความเจ็บปวด
การตรวจนี้มีความเสียงหรือไม่?
การตรวจนี้ไม่มีความเสี่ยงหรือเจ็บปวดแต่อย่างใด
ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการตรวจ
- เครื่องมือไม่สมบูรณ์
- แผ่น electrode ไม่แนบสนิทกับผิวหนัง
- คุณคลื่อนไหว หรือพูด
- ออกกำลังกายอย่างหนักก่อนการตรวจ
- กังวล หายใจหอบลึก
- การติด electrode ผิดตำแหน่ง
ข้อที่ควรคำนึงเกี่ยวกับการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
- หากท่านมีอาการหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจในระยะแรกอาจจะปกติ
- การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจควรจะต้องตรวจขณะพักก่อนการตรวจขณะออกกำลังกาย
- แพทย์บางท่านแนะนำให้ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจเมื่อายุย่าง 35 เพื่อเป็นค่าที่เอาไว้เปรียบเทียบ
- โรค บางโรคจะปรากฏเมื่อออกกำลังกายหรือขณะมีอาการ ดังนั้นอาจจะจำเป็นต้องตรวจคลื่นไฟฟ้าขณะออกกำำลังกาย หรือตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจตลอด 24 ชั่วโมง ( ambulatory electrocardiogram)
การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจมีสองแบบได้แก่
- การตรวจไฟฟ้าแบบตรวจเมื่อแพทย์สั่ง เช่นเมื่อมาพบแพทย์และมีอาการเจ็บหน้าอก แพทย์จะสั่งตรวจ
- การ ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจแบบตลอด 24 ชั่วโมง การตรวจนี้จะใช้กรณีที่ผู้ป่วยมีอาการเหมือนว่าจะเกิดจากโรคหัวใจ แต่การตรวจขณะนั้นไม่พบความผิดปกติ แพทย์จะสั่งตรวจคลื่นไฟฟ้าตลอด 24 ชั่วโมง โดยการติดเครื่องมือไว้กับตัวท่านตลอด 24 ชั่วโมงและนำเครื่องมาวิเคราะห์ว่าตลอด 24 ชั่วโมงมีสิ่งผิดปกติเกี่ยวกับหัวใจหรือไม่
.