หลายสิ่งหลายอย่างที่ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจเทียมควรจะต้องทราบ ดังนี้
1 การผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจเทียม แม้ว่าไม่ได้ทำให้คุณหายขาดจากโรคหัวใจ แต่คุณจะสบายขึ้น มีอายุยืนยาวขึ้น สามารถกลับไปทำงานได้
2 ลิ้นหัวใจเทียมเป็นสิ่งแปลกปลอม ร่างกายจะสร้างลิ่มเลือดเล็กๆเกาะที่ลิ้นหัวใจ ทำให้ลิ้นหัวใจเสีย ต้องผ่าตัดเปลี่ยนอีก และ ลิ่มเลือดเหล่านี้ทำให้เกิดอัมพาตได้ นอกจากนั้นลิ้นหัวใจเทียมยังติดเชื้อโรคง่ายกว่าลิ้นหัวใจปกติ
3 จำเป็นต้องรับประทานยาป้องกันการเกิดลิ่มเลือด ชื่อ Coumadin หรือ Orfarin ไปตลอดฃีวิต
4 ยาป้องกันการเกิดลิ่มเลือดนี้ก็มีอันตราย เพราะทำให้เลือดแข็งตัวช้า เลือดออกง่าย และ มากผิดปกติ ในทุกๆส่วนของร่างกาย อาจถึงขั้นเสียฃีวิตได้
5 จำเป็นต้องพบแพทย์ และ ตรวจการแข็งตัวของเลือดเป็นระยะ เพื่อปรับยาให้เหมาะสม ห้ามปรับยาเอง กรุณาพบแพทย์ตามนัดเสมอเพื่อประโยชน์ของท่านเอง
6 ยานี้มีปฏิกริยาเมื่อใช้ร่วมกับยาอื่นๆหลายขนาน รวมทั้ง ยาแก้หวัด ต้านการอักเสบ ยาสมุนไพร อาหารเสริม ดังนั้นจึงไม่ควรซื้อยาต่างๆรับประทานเองโดยเด็ดขาด
7 ห้ามฉีดยาเข้ากล้าม ห้ามทำผ่าตัดใดๆ ห้ามทำฟัน ก่อนปรึกษาแพทย์โรคหัวใจที่ดูแล
8 หากมีเลือดออกผิดปกติ ให้หยุดยาและพบแพทย์ทันที
9 ควรหลีกเลี่ยงโอกาสเกิดอุบัติเหตุ หรือ งานที่เสี่ยงต่ออุบัติเหตุ
10 ผู้ป่วยสตรีที่รับประทานยานี้อยู่ห้ามตั้งครรภ์เด็ดขาด โอกาสที่เด็กจะพิการ มีสูงมาก
11 ท่านควรมีบัตรที่แสดงว่ารับประทานยานี้อยู่ และ แจ้งแพทย์ที่ไม่ใช่แพทย์ประจำตัวท่าน ทุกครั้งว่ารับประทานยานี้อยู่
จะ เห็นว่ายานี้มีอันตรายและข้อควรระวังมาก แต่ก็เป็นยาที่มีความจำเป็นต้องใช้ในผู้ที่ได้รับ ลิ้นหัวใจเทียมอย่างเลี่ยงไม่ได้ จึงควรทราบไว้เพื่อปฏิบัติตัวได้ถูกต้อง ทั้งนี้เพื่อตัว และหัวใจ ของท่านเอง
.
Popular Posts
-
หัวใจของคนเราประกอบไปด้วย หัวใจห้องล่างสองห้องคือซ้ายและขวา( Left or Right Ventricle )และหัวใจห้องบนสองห้องคือขวาและซ้าย ( Left or Right Atr...
-
“โรคหัวใจ” เป็นคำที่กว้าง และฟังดูน่ากลัว แบ่งได้หลายชนิด ดังนี้ โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด คือเป็นตั้งแต่เกิด อาจวินิจฉัยได้ตั้งแต่แรกคลอด หร...
-
ไข้รูมาติก/Rheumatic Fever พบในคนทุกวัย แต่จะพบมากในเด็กอายุ 5-15 ปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในครอบครัวที่ฐานะค่อนข้างยากจน หรือ อยู่กันอย่างแออัด...
-
ลิ้นหัวใจ คนเรามีทั้งหมด 4 ลิ้น ทำหน้าที่ควบคุมการไหลเวียนของเลือดภายในหัวใจ จากหัวใจห้องบน ไปหัวใจห้องล่างและ ออกสู่เส้น เลือดเอออร์...
-
เส้นเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจ เรียกว่า เส้นเลือดแดงโคโรนารี่ มีรูเปิดอยู่ที่บริเวณโคนของเส้นเลือดแดงเอออร์ตา แบ่งเป็น 2 เส้น คือ เส้น...