ประโยชน์ของการตรวจ EKG
การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจบอกให้ ทราบข้อมูลเกี่ยวกับหัวใจ เช่น จังหวะการเต้น ความสม่ำเสมอ การนำไฟฟ้าในหัวใจ ชนิดของ การเต้นผิดจังหวะ หัวใจโตหรือไม่ กล้ามเนื้อหัวใจ ตาย กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ความผิดของระดับ เกลือแร่บางชนิดในร่างกาย เป็นต้น ข้อมูลที่ได้มา ก็ต้องนำมาแปลผลอีกครั้ง โดยอาศัยประวัติ การ ตรวจร่างกาย ความชำนาญของแพทย์ จึงจะสรุป อีกครั้งว่าคลื่นไฟฟ้า หัวใจผิดปกติหรือไม่
การแปลผลคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
ถ้าเป็นเพียงหลอดเลือดตีบไม่รุนแรงก็อาจตรวจไม่พบความผิดปกติได้ และในการอ่านคลื่นไฟฟ้าหัวใจว่ามีหัวใจโต ก็เป็นสิ่งที่ต้องระมัดระวังมาก เพราะต้องอาศัยการแปลผลความสูงของคลื่นไฟฟ้าเป็นสำคัญ ความสูงของคลื่นนี้จะมีการแปรผันมาจากอายุ ความอ้วน ความผอม และโรคปอด ฯลฯ และบ่อยครั้งที่คลื่นไฟฟ้าหัวใจอ่านผลออกมาว่า มีหัวใจโต แต่ความจริงหัวใจอาจไม่โตก็ได้ ในการตรวจขนาดหัวใจโดยอาศัยคลื่นไฟฟ้าหัวใจนั้น มีความไวต่ำมาก ซึ่งหมายความว่า หัวใจอาจจะโตโดยที่คลื่นไฟฟ้าหัวใจปกติ ข้อมูลที่ได้ก็ต้องนำมาแปลผลอีกครั้งจากการซักประวัติ และการตรวจร่างกายของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ จึงสามารถสรุปได้อีกครั้งว่าหัวใจผิดปกติแน่นอนหรือไม่
ความเหมาะสมในการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจจะมีประโยชน์ ในกรณีที่มีอาการหัวใจเต้นผิดปกติ ใจสั่น เจ็บหน้าอก ในกรณี ที่อายุน้อย ไม่มีอาการผิดปกติ การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจจะไม่มีประโยชน์ การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจควรตรวจ ในกรณีที่อายุมากกว่า 40 ปี และมีปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหัวใจ เช่น ไขมันในเส้นเลือดสูง สูบบุหรี่ เบาหวาน แม้ว่า จะไม่มีอาการของโรคหัวใจ แต่สิ่งเหล่านี้ถือว่าเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจทั้งสิ้น จึงควรที่จะรับการตรวจ คลื่นไฟฟ้าหัวใจ เพื่อเก็บการตรวจไว้เปรียบเทียบกันในอนาคต หรือในกรณีที่มีอาการผิดปกติ เช่น ใจสั่น เจ็บ หน้าอก เหนื่อยง่าย หรือตรวจพบความดันโลหิตสูง ลิ้นหัวใจรั่ว ควรได้รับการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจทันที ดังนั้น การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจจึงมีความจำเป็นในกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ และ มีอาการ ผิดปกติเกี่ยวกับหัวใจในเวลานั้น ส่วนคนที่มีสุขภาพแข็งแรง ไม่มีปัญหาต่างๆ ที่เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิด โรคหัวใจ จึงอาจไม่จำเป็นต้องตรวจ และเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ควรขอคำปรึกษาจากแพทย์ก่อน
ข้อควรระวัง
คลื่นไฟฟ้าหัวใจปกติ ไม่ได้หมายความว่าหัวใจปกติ ปราศจากโรค ในโรคหัวใจขาดเลือด หรือ หลอดเลือดหัวใจตีบนั้น คลื่นไฟฟ้าหัวใจจะผิดปกติก็ต่อเมื่อเป็นโรคขั้นรุนแรงจนเกิดกล้ามเนื้อหัวใจ ตายแล้ว ถ้าเป็นเพียงหลอดเลือดตีบแต่ไม่รุนแรงก็อาจตรวจไม่พบได้
คลื่นไฟฟ้าหัวใจไม่ได้บอกความผิดปกติของลิ้นหัวใจ หรือ หลอดเลือดหัวใจโดยตรง แต่เป็นการตรวจผลเสียที่เกิดขึ้นเนื่องจากโรคของลิ้นหัวใจหรือหลอดเลือดหัวใจ การตรวจจะได้ประโยชน์เมื่อตรวจขณะเกิดอาการ เช่น ใจสั่น หัวใจเต้นผิดปกติ เจ็บหน้าอก เป็นต้น
ที่มา : ศูนย์บริการสุขภาพเคลื่อนที่ โรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์
และ นวลจันทร์ ดีพิริยานนท์ โรงพยาบาลเทพธารินทร์
.
Popular Posts
-
หัวใจของคนเราประกอบไปด้วย หัวใจห้องล่างสองห้องคือซ้ายและขวา( Left or Right Ventricle )และหัวใจห้องบนสองห้องคือขวาและซ้าย ( Left or Right Atr...
-
“โรคหัวใจ” เป็นคำที่กว้าง และฟังดูน่ากลัว แบ่งได้หลายชนิด ดังนี้ โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด คือเป็นตั้งแต่เกิด อาจวินิจฉัยได้ตั้งแต่แรกคลอด หร...
-
ไข้รูมาติก/Rheumatic Fever พบในคนทุกวัย แต่จะพบมากในเด็กอายุ 5-15 ปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในครอบครัวที่ฐานะค่อนข้างยากจน หรือ อยู่กันอย่างแออัด...
-
ลิ้นหัวใจ คนเรามีทั้งหมด 4 ลิ้น ทำหน้าที่ควบคุมการไหลเวียนของเลือดภายในหัวใจ จากหัวใจห้องบน ไปหัวใจห้องล่างและ ออกสู่เส้น เลือดเอออร์...
-
เส้นเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจ เรียกว่า เส้นเลือดแดงโคโรนารี่ มีรูเปิดอยู่ที่บริเวณโคนของเส้นเลือดแดงเอออร์ตา แบ่งเป็น 2 เส้น คือ เส้น...