วิธีใช้ยาอมใต้ลิ้นที่ถูกต้อง

วิธีใช้ยาอมใต้ลิ้นที่ถูกต้องคืออย่างไร

การใช้ยาอมใต้ลิ้นที่ถูกวิธี เริ่มตั้งแต่ การนั่งลงบนเก้าอี้ที่มี ีพนักพิงและเท้าแขน หากไม่มีก็ให้นั่งลงกับพื้น หลังพิงกำแพง เสา ตู้ หรือต้นไม้ หรือให้มีคนช่วยประคองหลังไว้ นำยา 1 เม็ด (ห้ามใช้เกิน ครั้งละ 1 เม็ด) ออกจากขวดบรรจุ แล้ววางไว้ใต้ลิ้น (ห้ามเคี้ยว ทำให้แตก หรือบดยา) จากนั้นปิดปาก และอมยาไว้ โดยไม่กลืนน้ำลาย ดื่มน้ำหรือเครื่องดื่มใดๆ ตามลงไป ปล่อยให้ยาค่อยๆ ถูกดูดซึม ผ่านหลอดเลือดบริเวณใต้ลิ้น อาการเจ็บหน้าอกจะค่อยๆ บรรเทาลงภายใน 1-2 นาที ถ้าหลังจากอมยาไปแล้ว 5 นาที อาการยังไม่ดีขึ้น ให้อมยาเม็ดที่ 2 รอดูอาการอีก 5 นาที ถ้ายังมีอาการเจ็บหน้าอกอยู่ ให้อมยาเม็ดที่ 3 แล้วรีบไปโรงพยาบาล เพราะหากอมยาไป 3 เม็ดแล้ว อาการยังไม่ดีขึ้นนั้น มีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตาย อันจะส่งผลต่อไปให้การทำงานของหัวใจผิดปกติ หรืออาจถึงขั้นเสียชีวิตได้

การเก็บรักษายาอมใต้ลิ้น

http://img40.imageshack.us/img40/5382/23howtotake1133627.jpg

คำที่เกี่ยวข้อง : ยาอมใต้ลิ้น ไม่ใช่ยาวิเศษ ,ยาอมใต้ลิ้นใช้แก้อาการเจ็บหน้าอกได้อย่างไร

ยาอมใต้ลิ้นนั้นมีความไวต่อแสง และความร้อนมาก ควรเก็บไว้ในภาชนะบรรจุที่กันแสง เช่น ขวดสีชา หรือทึบแสง ที่มีฝาปิดสนิทไม่ควรเก็บไว้ในที่ร้อนในเมืองไทยเราอากาศค่อนข้างร้อน อาจเก็บไว้ในตู้เย็นช่องธรรมดาได้ มีข้อควรระวังสำหรับการเก็บไว้ในกระเป๋ากางเกง โดยไม่ได้ใส่ภาชนะบรรจุที่เหมาะสมก่อนนั้น อาจทำให้ยาเสื่อมคุณภาพได้ง่าย บ้างก็เกิดระเบิดได้เนื่องจาก ยาเป็นกลุ่มไนเตรท
นอกจากนี้หากไม่มีการใช้ยาเลยเป็นเวลานาน คุณควรเปลี่ยนยาใหม่ทุก 6 เดือน และหากมีเม็ดยาที่แตก หรือเปื่อยยุ่ยก่อน 6 เดือนก็ควรทิ้งยาเม็ดนั้นเสีย และหากใช้ยาอมใต้ลิ้นแล้วไม่รู้สึกซ่าๆ เหมือนมีเข็มเล็กทิ่มแสดงว่ายานั้นหมดอายุแล้ว ก็ควรเปลี่ยนยาใหม่เช่นกัน

ผลข้างเคียงจากยาอมใต้ลิ้นมีหรือไม่ หรือมียาอื่นแทนได้หรือไม่
ผลข้างเคียงจากยาอมใต้ลิ้นที่พบได้บ่อย คือ

• อาการปวดศีรษะ
• อาการร้อนวูบวาบตามตัว
• หัวใจเต้นเร็ว
• ความดันโลหิตต่ำลง บางรายเป็นลมหมดสติได้
• อาการปวดศีรษะจากยาอมใต้ลิ้นเป็นผลข้างเคียงที่เป็นอยู่ไม่นานเพราะยาออกฤทธิ์สั้น ปัจจุบันไม่มียาอมใต้ลิ้นกลุ่มอื่นๆ ทดแทนค่ะ หากจำเป็นต้องใช้ก็ต้องใช้ยาจริงไม่มียาทดแทนค่ะ

ใช้ยาอมใต้ลิ้นบ่อยๆ แล้วไม่ได้ผลควรทำอย่างไร

กรณีที่คุณจำเป็นต้องใช้ยาบ่อยๆ ได้แก่ การใช้ยาเกิน 3 ครั้งต่อวันแล้ว หรือใช้ยาทุกวันวันละครั้งติดต่อกันหลายๆ วัน เป็นต้น นั่นเป็นสัญญาณบอกเหตุที่ไม่ดีแน่นอน คุณควรปรึกษาแพทย์ว่า เพราะเหตุใดจึงเกิดอาการเจ็บหน้าอกบ่อย ยารับประทานไม่สามารถควบคุมโรคได้ หรืออาการของโรคเป็นมากขึ้น คุณควรนำประวัติเดิมไปให้แพทย์พิจารณาทั้งหมดด้วย ทั้งนี้แพทย์อาจพิจารณา ให้ตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติม เช่น การฉีดสี การดูภาพสะท้อนการทำงานของหัวใจ เพื่อพิจารณาการรักษาอื่นๆ หรือปรับยารับประทานต่อไป

ที่มา : lifedd.net


.

Popular Posts

  ©Template Blogger Green by Dicas Blogger.

TOPO