วิธีใช้ยาอมใต้ลิ้นที่ถูกต้องคืออย่างไร
การใช้ยาอมใต้ลิ้นที่ถูกวิธี เริ่มตั้งแต่ การนั่งลงบนเก้าอี้ที่มี ีพนักพิงและเท้าแขน หากไม่มีก็ให้นั่งลงกับพื้น หลังพิงกำแพง เสา ตู้ หรือต้นไม้ หรือให้มีคนช่วยประคองหลังไว้ นำยา 1 เม็ด (ห้ามใช้เกิน ครั้งละ 1 เม็ด) ออกจากขวดบรรจุ แล้ววางไว้ใต้ลิ้น (ห้ามเคี้ยว ทำให้แตก หรือบดยา) จากนั้นปิดปาก และอมยาไว้ โดยไม่กลืนน้ำลาย ดื่มน้ำหรือเครื่องดื่มใดๆ ตามลงไป ปล่อยให้ยาค่อยๆ ถูกดูดซึม ผ่านหลอดเลือดบริเวณใต้ลิ้น อาการเจ็บหน้าอกจะค่อยๆ บรรเทาลงภายใน 1-2 นาที ถ้าหลังจากอมยาไปแล้ว 5 นาที อาการยังไม่ดีขึ้น ให้อมยาเม็ดที่ 2 รอดูอาการอีก 5 นาที ถ้ายังมีอาการเจ็บหน้าอกอยู่ ให้อมยาเม็ดที่ 3 แล้วรีบไปโรงพยาบาล เพราะหากอมยาไป 3 เม็ดแล้ว อาการยังไม่ดีขึ้นนั้น มีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตาย อันจะส่งผลต่อไปให้การทำงานของหัวใจผิดปกติ หรืออาจถึงขั้นเสียชีวิตได้
การเก็บรักษายาอมใต้ลิ้น
คำที่เกี่ยวข้อง : ยาอมใต้ลิ้น ไม่ใช่ยาวิเศษ ,ยาอมใต้ลิ้นใช้แก้อาการเจ็บหน้าอกได้อย่างไร
ยาอมใต้ลิ้นนั้นมีความไวต่อแสง และความร้อนมาก ควรเก็บไว้ในภาชนะบรรจุที่กันแสง เช่น ขวดสีชา หรือทึบแสง ที่มีฝาปิดสนิทไม่ควรเก็บไว้ในที่ร้อนในเมืองไทยเราอากาศค่อนข้างร้อน อาจเก็บไว้ในตู้เย็นช่องธรรมดาได้ มีข้อควรระวังสำหรับการเก็บไว้ในกระเป๋ากางเกง โดยไม่ได้ใส่ภาชนะบรรจุที่เหมาะสมก่อนนั้น อาจทำให้ยาเสื่อมคุณภาพได้ง่าย บ้างก็เกิดระเบิดได้เนื่องจาก ยาเป็นกลุ่มไนเตรท
นอกจากนี้หากไม่มีการใช้ยาเลยเป็นเวลานาน คุณควรเปลี่ยนยาใหม่ทุก 6 เดือน และหากมีเม็ดยาที่แตก หรือเปื่อยยุ่ยก่อน 6 เดือนก็ควรทิ้งยาเม็ดนั้นเสีย และหากใช้ยาอมใต้ลิ้นแล้วไม่รู้สึกซ่าๆ เหมือนมีเข็มเล็กทิ่มแสดงว่ายานั้นหมดอายุแล้ว ก็ควรเปลี่ยนยาใหม่เช่นกัน
ผลข้างเคียงจากยาอมใต้ลิ้นมีหรือไม่ หรือมียาอื่นแทนได้หรือไม่
ผลข้างเคียงจากยาอมใต้ลิ้นที่พบได้บ่อย คือ
• อาการปวดศีรษะ
• อาการร้อนวูบวาบตามตัว
• หัวใจเต้นเร็ว
• ความดันโลหิตต่ำลง บางรายเป็นลมหมดสติได้
• อาการปวดศีรษะจากยาอมใต้ลิ้นเป็นผลข้างเคียงที่เป็นอยู่ไม่นานเพราะยาออกฤทธิ์สั้น ปัจจุบันไม่มียาอมใต้ลิ้นกลุ่มอื่นๆ ทดแทนค่ะ หากจำเป็นต้องใช้ก็ต้องใช้ยาจริงไม่มียาทดแทนค่ะ
ใช้ยาอมใต้ลิ้นบ่อยๆ แล้วไม่ได้ผลควรทำอย่างไร
กรณีที่คุณจำเป็นต้องใช้ยาบ่อยๆ ได้แก่ การใช้ยาเกิน 3 ครั้งต่อวันแล้ว หรือใช้ยาทุกวันวันละครั้งติดต่อกันหลายๆ วัน เป็นต้น นั่นเป็นสัญญาณบอกเหตุที่ไม่ดีแน่นอน คุณควรปรึกษาแพทย์ว่า เพราะเหตุใดจึงเกิดอาการเจ็บหน้าอกบ่อย ยารับประทานไม่สามารถควบคุมโรคได้ หรืออาการของโรคเป็นมากขึ้น คุณควรนำประวัติเดิมไปให้แพทย์พิจารณาทั้งหมดด้วย ทั้งนี้แพทย์อาจพิจารณา ให้ตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติม เช่น การฉีดสี การดูภาพสะท้อนการทำงานของหัวใจ เพื่อพิจารณาการรักษาอื่นๆ หรือปรับยารับประทานต่อไป
ที่มา : lifedd.net
.
ยาอมใต้ลิ้น ใช้แก้อาการเจ็บหน้าอก ได้อย่างไร - วิธีใช้ยาอมใต้ลิ้น
ยาอมใต้ลิ้น ใช้แก้อาการเจ็บหน้าอก ได้อย่างไร
อาการเจ็บหน้าอก เป็นอาการแสดงอย่างหนึ่งของโรคหัวใจขาดเลือด อันเนื่องมาจาก หลอดเลือดที่เลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจเกิดอุดตัดหรือตีบ บางคนรู้สึกเจ็บเหมือนมีอะไรมารัดหน้าอก บางคนรู้สึกเจ็บตื้อๆ จุกแน่นที่ลิ้นปี่ หายใจไม่สะดวก บางคนมีอาการปวดร้าวไปที่แขนซ้าย ไหล่ซ้าย คางหรือกรามและในขณะที่เจ็บหน้าอกมักจะมีเหงื่ออกมาก ใจสั่น หรือ อาจรู้สึกคล้ายจะเป็นลม อาการเจ็บหน้าอกนี้มักเกิดขึ้น เมื่อออกกำลังกายมากกว่าปกติ กินอาหารมื้อใหญ่กว่าปกติ มีอารมณ์โกรธหรือตื่นเต้น หากได้นั่งพัก อาการส่วนใหญ่จะดีขึ้น แต่ถ้าไม่ดีขึ้นจะต้องใช้ยาอมใต้ลิ้นช่วย
ยาอมใต้ลิ้น เป็นยาที่มีฤทธิ์ขยายหลอดเลือด จะช่วยให้หลอดเลือดที่อุดตันหรือตีบนั้นถ่างออก เลือดจึงไหลไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจได้ ทำให้อาการเจ็บหน้าอกหายไป
ดังนั้น ผู้ที่เป็นโรคหัวใจขาดเลือด จึงควรพกยาอมใต้ลิ้นติดตัวเสมอ โดยไม่แบ่งยาอมใต้ลิ้นจากขวดบรรจุใส่ซองพลาสติก เมื่อเกิดอาการเจ็บหน้าอก จะได้หยิบใช้ได้ทันที
คำที่เกี่ยวข้อง : ยาอมใต้ลิ้น ไม่ใช่ยาวิเศษ ,วิธีใช้ยาอมใต้ลิ้น
วิธีใช้ยาอมใต้ลิ้น ที่ถูกต้อง คือ
การใช้ยาอมใต้ลิ้นที่ถูกวิธี เริ่มตั้งแต่ การนั่งลงบนเก้าอี้ที่มีพนักพิงและเท้าแขน หากไม่มีก็ให้นั่งลงกับพื้น หลังพิงกำแพง ต้นไม้ หรือให้มีคนช่วยประคองหลังไว้ นำยา 1 เม็ด ออกจากขวดบรรจุ แล้ววางไว้ใต้ลิ้น จากนั้นปิดปากและอมยาไว้ โดยไม่กลืนน้ำลาย อาการเจ็บหน้าอก จะหายไปภายใน 1-2 นาที ถ้าหลังจากอมยาไปแล้ว 5 นาที อาการยังไม่ดีขึ้น ให้อมยาเม็ดที่ 2 รอดูอาการอีก 5 นาที ถ้ายังมีอาการเจ็บหน้าอกอยู่ ให้อมยาเม็ดที่ 3 แล้วรีบไปโรงพยาบาล
ที่มา : rx12.wsnhosting.com
.
ประโยชน์ของการตรวจ คลื่นไฟฟ้าหัวใจ - EKG/ECG และ ความเหมาะสมในการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
ประโยชน์ของการตรวจ EKG
การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจบอกให้ ทราบข้อมูลเกี่ยวกับหัวใจ เช่น จังหวะการเต้น ความสม่ำเสมอ การนำไฟฟ้าในหัวใจ ชนิดของ การเต้นผิดจังหวะ หัวใจโตหรือไม่ กล้ามเนื้อหัวใจ ตาย กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ความผิดของระดับ เกลือแร่บางชนิดในร่างกาย เป็นต้น ข้อมูลที่ได้มา ก็ต้องนำมาแปลผลอีกครั้ง โดยอาศัยประวัติ การ ตรวจร่างกาย ความชำนาญของแพทย์ จึงจะสรุป อีกครั้งว่าคลื่นไฟฟ้า หัวใจผิดปกติหรือไม่
การแปลผลคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
ถ้าเป็นเพียงหลอดเลือดตีบไม่รุนแรงก็อาจตรวจไม่พบความผิดปกติได้ และในการอ่านคลื่นไฟฟ้าหัวใจว่ามีหัวใจโต ก็เป็นสิ่งที่ต้องระมัดระวังมาก เพราะต้องอาศัยการแปลผลความสูงของคลื่นไฟฟ้าเป็นสำคัญ ความสูงของคลื่นนี้จะมีการแปรผันมาจากอายุ ความอ้วน ความผอม และโรคปอด ฯลฯ และบ่อยครั้งที่คลื่นไฟฟ้าหัวใจอ่านผลออกมาว่า มีหัวใจโต แต่ความจริงหัวใจอาจไม่โตก็ได้ ในการตรวจขนาดหัวใจโดยอาศัยคลื่นไฟฟ้าหัวใจนั้น มีความไวต่ำมาก ซึ่งหมายความว่า หัวใจอาจจะโตโดยที่คลื่นไฟฟ้าหัวใจปกติ ข้อมูลที่ได้ก็ต้องนำมาแปลผลอีกครั้งจากการซักประวัติ และการตรวจร่างกายของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ จึงสามารถสรุปได้อีกครั้งว่าหัวใจผิดปกติแน่นอนหรือไม่
ความเหมาะสมในการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจจะมีประโยชน์ ในกรณีที่มีอาการหัวใจเต้นผิดปกติ ใจสั่น เจ็บหน้าอก ในกรณี ที่อายุน้อย ไม่มีอาการผิดปกติ การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจจะไม่มีประโยชน์ การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจควรตรวจ ในกรณีที่อายุมากกว่า 40 ปี และมีปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหัวใจ เช่น ไขมันในเส้นเลือดสูง สูบบุหรี่ เบาหวาน แม้ว่า จะไม่มีอาการของโรคหัวใจ แต่สิ่งเหล่านี้ถือว่าเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจทั้งสิ้น จึงควรที่จะรับการตรวจ คลื่นไฟฟ้าหัวใจ เพื่อเก็บการตรวจไว้เปรียบเทียบกันในอนาคต หรือในกรณีที่มีอาการผิดปกติ เช่น ใจสั่น เจ็บ หน้าอก เหนื่อยง่าย หรือตรวจพบความดันโลหิตสูง ลิ้นหัวใจรั่ว ควรได้รับการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจทันที ดังนั้น การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจจึงมีความจำเป็นในกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ และ มีอาการ ผิดปกติเกี่ยวกับหัวใจในเวลานั้น ส่วนคนที่มีสุขภาพแข็งแรง ไม่มีปัญหาต่างๆ ที่เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิด โรคหัวใจ จึงอาจไม่จำเป็นต้องตรวจ และเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ควรขอคำปรึกษาจากแพทย์ก่อน
ข้อควรระวัง
คลื่นไฟฟ้าหัวใจปกติ ไม่ได้หมายความว่าหัวใจปกติ ปราศจากโรค ในโรคหัวใจขาดเลือด หรือ หลอดเลือดหัวใจตีบนั้น คลื่นไฟฟ้าหัวใจจะผิดปกติก็ต่อเมื่อเป็นโรคขั้นรุนแรงจนเกิดกล้ามเนื้อหัวใจ ตายแล้ว ถ้าเป็นเพียงหลอดเลือดตีบแต่ไม่รุนแรงก็อาจตรวจไม่พบได้
คลื่นไฟฟ้าหัวใจไม่ได้บอกความผิดปกติของลิ้นหัวใจ หรือ หลอดเลือดหัวใจโดยตรง แต่เป็นการตรวจผลเสียที่เกิดขึ้นเนื่องจากโรคของลิ้นหัวใจหรือหลอดเลือดหัวใจ การตรวจจะได้ประโยชน์เมื่อตรวจขณะเกิดอาการ เช่น ใจสั่น หัวใจเต้นผิดปกติ เจ็บหน้าอก เป็นต้น
ที่มา : ศูนย์บริการสุขภาพเคลื่อนที่ โรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์
และ นวลจันทร์ ดีพิริยานนท์ โรงพยาบาลเทพธารินทร์
.
การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจบอกให้ ทราบข้อมูลเกี่ยวกับหัวใจ เช่น จังหวะการเต้น ความสม่ำเสมอ การนำไฟฟ้าในหัวใจ ชนิดของ การเต้นผิดจังหวะ หัวใจโตหรือไม่ กล้ามเนื้อหัวใจ ตาย กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ความผิดของระดับ เกลือแร่บางชนิดในร่างกาย เป็นต้น ข้อมูลที่ได้มา ก็ต้องนำมาแปลผลอีกครั้ง โดยอาศัยประวัติ การ ตรวจร่างกาย ความชำนาญของแพทย์ จึงจะสรุป อีกครั้งว่าคลื่นไฟฟ้า หัวใจผิดปกติหรือไม่
การแปลผลคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
ถ้าเป็นเพียงหลอดเลือดตีบไม่รุนแรงก็อาจตรวจไม่พบความผิดปกติได้ และในการอ่านคลื่นไฟฟ้าหัวใจว่ามีหัวใจโต ก็เป็นสิ่งที่ต้องระมัดระวังมาก เพราะต้องอาศัยการแปลผลความสูงของคลื่นไฟฟ้าเป็นสำคัญ ความสูงของคลื่นนี้จะมีการแปรผันมาจากอายุ ความอ้วน ความผอม และโรคปอด ฯลฯ และบ่อยครั้งที่คลื่นไฟฟ้าหัวใจอ่านผลออกมาว่า มีหัวใจโต แต่ความจริงหัวใจอาจไม่โตก็ได้ ในการตรวจขนาดหัวใจโดยอาศัยคลื่นไฟฟ้าหัวใจนั้น มีความไวต่ำมาก ซึ่งหมายความว่า หัวใจอาจจะโตโดยที่คลื่นไฟฟ้าหัวใจปกติ ข้อมูลที่ได้ก็ต้องนำมาแปลผลอีกครั้งจากการซักประวัติ และการตรวจร่างกายของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ จึงสามารถสรุปได้อีกครั้งว่าหัวใจผิดปกติแน่นอนหรือไม่
ความเหมาะสมในการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจจะมีประโยชน์ ในกรณีที่มีอาการหัวใจเต้นผิดปกติ ใจสั่น เจ็บหน้าอก ในกรณี ที่อายุน้อย ไม่มีอาการผิดปกติ การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจจะไม่มีประโยชน์ การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจควรตรวจ ในกรณีที่อายุมากกว่า 40 ปี และมีปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหัวใจ เช่น ไขมันในเส้นเลือดสูง สูบบุหรี่ เบาหวาน แม้ว่า จะไม่มีอาการของโรคหัวใจ แต่สิ่งเหล่านี้ถือว่าเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจทั้งสิ้น จึงควรที่จะรับการตรวจ คลื่นไฟฟ้าหัวใจ เพื่อเก็บการตรวจไว้เปรียบเทียบกันในอนาคต หรือในกรณีที่มีอาการผิดปกติ เช่น ใจสั่น เจ็บ หน้าอก เหนื่อยง่าย หรือตรวจพบความดันโลหิตสูง ลิ้นหัวใจรั่ว ควรได้รับการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจทันที ดังนั้น การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจจึงมีความจำเป็นในกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ และ มีอาการ ผิดปกติเกี่ยวกับหัวใจในเวลานั้น ส่วนคนที่มีสุขภาพแข็งแรง ไม่มีปัญหาต่างๆ ที่เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิด โรคหัวใจ จึงอาจไม่จำเป็นต้องตรวจ และเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ควรขอคำปรึกษาจากแพทย์ก่อน
ข้อควรระวัง
คลื่นไฟฟ้าหัวใจปกติ ไม่ได้หมายความว่าหัวใจปกติ ปราศจากโรค ในโรคหัวใจขาดเลือด หรือ หลอดเลือดหัวใจตีบนั้น คลื่นไฟฟ้าหัวใจจะผิดปกติก็ต่อเมื่อเป็นโรคขั้นรุนแรงจนเกิดกล้ามเนื้อหัวใจ ตายแล้ว ถ้าเป็นเพียงหลอดเลือดตีบแต่ไม่รุนแรงก็อาจตรวจไม่พบได้
คลื่นไฟฟ้าหัวใจไม่ได้บอกความผิดปกติของลิ้นหัวใจ หรือ หลอดเลือดหัวใจโดยตรง แต่เป็นการตรวจผลเสียที่เกิดขึ้นเนื่องจากโรคของลิ้นหัวใจหรือหลอดเลือดหัวใจ การตรวจจะได้ประโยชน์เมื่อตรวจขณะเกิดอาการ เช่น ใจสั่น หัวใจเต้นผิดปกติ เจ็บหน้าอก เป็นต้น
ที่มา : ศูนย์บริการสุขภาพเคลื่อนที่ โรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์
และ นวลจันทร์ ดีพิริยานนท์ โรงพยาบาลเทพธารินทร์
.
ความรู้ เรื่องคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
คลื่นไฟฟ้าหัวใจ หรือ กราฟหัวใจ หรือภาษาอังกฤษเรียกว่า Electrocardiogram ใช้คำย่อว่า ECG หรือ EKG ซึ่งตัว K นั้นเป็นภาษาเยอรมัน มาจากคำว่า Kardiac แปลว่า หัวใจ เหมือนกับตัว C ในภาษาอังกฤษ คือ Cardiac จึงใช้ได้ความหมายเหมือนกัน คือ การตรวจจับกระแสไฟฟ้าที่ออกมาจากหัวใจ หัวใจคนเราเป็นอวัยวะ มหัศจรรย์จริงๆ ประกอบไปด้วยส่วนของกล้ามเนื้อหัวใจที่แข็งแรง ทำงานตลอดชีวิตไม่มีวัน เวลา หยุดพัก อวัยวะอื่นๆ ยังพักได้ แต่หัวใจไม่เคยพัก
การที่กล้ามเนื้อหัวใจจะทำงานบีบตัวได้นั้น จะต้องอาศัยไฟฟ้ากระตุ้น ไฟฟ้านี้ก็มาจากหัวใจเอง โดยจะปล่อย ไฟฟ้าออกมาเป็นจังหวะ จากหัวใจห้องบนขวา ลงมายังหัวใจห้องล่าง ขณะที่ไฟฟ้าผ่านกล้ามเนื้อหัวใจ กล้ามเนื้อหัวใจจะเกิดการ หดตัว (และตามมาด้วยการคลายตัว) หัวใจจึงบีบตัวไล่เลือดจากห้องบน มายังห้องล่าง อย่างสัมพันธ์กัน เมื่อเรานำเอาตัวจับสัญญาณ ไฟฟ้า (electrode) มาวางไว้ที่หน้าอก ใกล้หัวใจ เราก็สามารถบันทึกไฟฟ้าที่ออกจากหัวใจนี้ได้
ที่มา : thaiheartclinic.com
.
.
โรคหัวใจรูมาติก -ไข้รูมาติก /Rheumatic Fever-RHD - สาเหตุ อาการ การรักษา การป้องกัน
ไข้รูมาติก/Rheumatic Fever พบในคนทุกวัย แต่จะพบมากในเด็กอายุ 5-15 ปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในครอบครัวที่ฐานะค่อนข้างยากจน หรือ อยู่กันอย่างแออัด ผู้ป่วยไข้รูมาติก จะมีการอักเสบของข้อและหัวใจพร้อม ๆ กัน ถ้า ปล่อยให้มีอาการกำเริบซ้ำ ๆ ซาก ๆ จะทำให้หัวใจมีการอักเสบเรื้อรัง และในที่สุดลิ้นหัวใจจะเกิดการพิการ คือ ตีบและรั่ว เมื่อถึงขั้นนี้ เรา เรียกโรคลิ้นหัวใจพิการชนิดนี้ว่า โรคหัวใจรูมาติก (rheumatic heart disease/RHD) ในประเทศเรามีการสำรวจพบว่า ในหมู่นักเรียนอายุ 5-15 ปี ในบาง ท้องที่ มีผู้ป่วยหัวใจรูมาติกประมาณ 0.5-2.1 ต่อนักเรียน 1,000 คน
สาเหตุไข้รูมาติก/Rheumatic Fever
เกิดจาก พยาธิสภาพที่หลงเหลืออยู่ภายหลังการเป็นโรคไข้รูมาติกชนิดที่มีการอักเสบของ หัวใจโดยเฉพาะที่ลิ้นหัวใจร่วมด้วย เนื่องจากโรคไข้รูมาติกเป็นโรคซึ่งพบได้บ่อยในประชากรที่ยากจนซึ่งเป็นชน ส่วนใหญ่ของประเทศที่กําลังพัฒนา โรคหัวใจรูมาติกจึงยังคงเป็นปัญหาใหญ่ทางสาธารณสุขสําหรับประเทศเหล่านี้ ซึ่งรวมทั้งประเทศไทยด้วย ทั้งนี้ก็เพราะสภาพด้อยทางเศรษฐกิจและสังคม จากความยากจนทําให้ประชากรส่วนหนึ่งพยายาม หนีความยากจนในต่างจังหวัดเดินทางเข้าสู่เมืองใหญ่ เช่น กรุงเทพมหานคร เพื่อหางานทํา ซึ่งลงท้ายก็มักจะทํางานตามโรงงานซึ่งจะอยู่กันอย่างแออัด และไม่ถูกต้องตามสุขลักษณะ
เมื่อไรก็ตามถ้ามีคนใดคนหนึ่งเป็นโรค ต่อมทอนซิล หรือคออักเสบจากเชื้อโรค เบต้าเสตรปโตคอคคัสกลุ่ม เอ ผู้ที่อยู่ใกล้ชิดก็มีโอกาสติดโรคทําให้ทอนซิลหรือคออักเสบจากเชื้อโรคตัว เดียวกันนี้ได้ และในคนที่คออักเสบจากเชื้อโรคตัวนี้ ประมาณร้อยละ 0.3 ถึง 3 จะมีโอกาสเป็นโรคค่อนข้างร้ายแรงซึ่งเรียกว่า
"โรคไข้รูมาติก"
โรค ไข้รูมาติกเป็นโรคที่เกิดขึ้นตามหลังภาวะต่อมทอนซิลหรือคออักเสบจากเชื้อโรค ตัวพิเศษที่ชื่อ เบต้าเสตรปโตคอคคัสกลุ่ม เอ ความผิดปกติทางพันธุกรรมทําให้ร่างกายของผู้ป่วยมีปฏิกริยาตอบสนองต่อการติด เชื้อจากเชื้อโรคตัวนี้ผิดไปจากคนธรรมดา ทําให้เกิดพยาธิสภาพจากการอักเสบที่อวัยวะต่างๆจนทําให้เกิดอาการ เช่น
ที่ผิวหนังจะมีผื่นแดงรูปร่างคล้ายแผนที่ ที่ชั้นใต้ผิวหนังจะเกิดเป็นตุ่มแข็งโดยมากมีขนาดเท่าๆกับเม็ดถั่วเขียวหรือ อาจใหญ่กว่าเม็ดถั่วลิสงซึ่งพบได้บริเวณท้ายทอย ตามแนวกระดูกสันหลัง หลังศอก หลังมือ หน้าเข่า และหลังเท้า
ตามข้อใหญ่ๆจะมีการอักเสบทําให้ข้อบวมและปวด พบได้ที่ข้อไหล่ ข้อศอก ข้อมือ ข้อสะโพก ข้อเข่า และข้อเท้า
อาการไข้รูมาติก/Rheumatic Fever
ทางสมองที่อาจจะพบได้แก่ การที่เจ้าตัวควบคุมกล้ามเนื้อของตัวเองให้ทํางานตามต้องการไม่ได้ตามปกติ ถ้าเป็นมากจะเขียนหนังสือไม่ได้ ตักอาหารใส่ปากเองไม่ได้ เดินไม่ได้ และอาจมีการแปรเปลี่ยนทางอารมณ์ร่วมด้วย
อาการที่สําคัญมากที่สุดของโรคนี้คือ ผู้ป่วยที่มีอาการจากการอักเสบของหัวใจซึ่งถ้าเป็นน้อยๆ อาจจะไม่มีอาการชัดเจน แต่ถ้าเป็นมากจะมีอาการเหนื่อยง่าย หอบ บวมที่เท้าและขาเนื่องจากหัวใจล้มเหลวเพราะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ และลิ้นหัวใจรั่วจากการอักเสบ บางคนอาจจะเจ็บหน้าอกเนื่องจากเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ
อาการไข้รูมาติก/Rheumatic Fever ลักษณะที่พบบ่อย คือ ผู้ป่วยจะมีอาการไข้และปวดบวมแดงร้อน ตามข้อใหญ่ ๆ เช่น ข้อเท้า ข้อเข่า ข้อมือ ข้อศอก ซึ่งมักจะเป็นมากกว่าหนึ่งข้อ โดยจะไม่ปวดขึ้นพร้อมกัน แต่จะปวดที่ข้อหนึ่งก่อน แล้วจึงปวดที่อีกข้อหนึ่ง แต่ละข้อจะมีอาการอักเสบอยู่นาน 5-10 วัน บางคนอาจเป็นเรื้อรังถึงกับลุกเดินไม่ได้เป็นแรมเดือน
อาการปวดบวมตามข้อมักจะหายได้เอง (แม้ไม่ได้รักษา) ข้อที่อักเสบจะกลับเป็นปกติ ไม่มีร่องรอยความพิการแต่อย่างไร โดยทั่วไป ผู้ป่วยมักมีอาการอ่อนเพีลย เบื่ออาหารน้ำหนักลดร่วมด้วย
ผู้ป่วยมักมีอาการอักเสบของหัวใจร่วมด้วย ถ้าเป็นไม่มากอาจไม่แสดงอาการให้เห็นชัดเจน ถ้าเป็นรุนแรงอาจทำให้มีอาการเหนื่อยง่าย ใจสั่น หอบ นอนราบไม่ได้ (เนื่องจากภาวะหัวใจวาย)
ผู้ป่วยอาจมีประวัติเป็นไข้เจ็บคอนำมาก่อนประมาณ 1-4 สัปดาห์ แต่บางคนอาจไม่มีก็ได้
นอกจากนี้ บางคนอาจมีอาการผื่นแดงขึ้นแผ่ออกโดยรอบ เป็นวงขอบแดง ตรงกลางขาว ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1-3 ซม. เรียกว่า อีริทีมามาร์จินาตุม (erythema marginatum) ไม่เจ็บ ไม่คัน และจางหายได้เองอย่างรวดเร็ว (บางครั้งอาจหายภายในวันเดียว) มักขึ้นตรงบริเวณก้นหรือแขนขาส่วนต้น ถ้าพบมักแสดงว่ามีการอักเสบของหัวใจร่วมด้วย
บางคนอาจมีตุ่มขึ้นอยู่ใต้ผิวหนัง (subcutaneous nodules) ตรงบริเวณข้อเท้า ข้อเข่า ข้อมือ ข้อศอก ไม่เจ็บ
จับให้เคลื่อนอยู่ใต้ผิวหนังได้ อาจมีขนาดเท่าเมล็ดถั่วเขียว หรือใหญ่ขนาด 2 ซม. ตุ่มนี้จะค่อย ๆ ยุบได้เอง
กินเวลาหลายสัปดาห์ ถ้าพบมักแสดงว่ามีการอักเสบของหัวใจร่วมด้วย
บางคนอาจมีการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อแขนขา หรือส่วนอื่น ๆ โดยที่ผู้ป่วยไม่สามารถบังคับได้ เช่น แขนขาขยุกขยิก หรือปัดแกว่งโดยไม่ได้ตั้งใจ บางคนอาจพูดไม่ชัดเขียนหนังสือหยิบของไม่ถนัด เป็นต้น
อาการแบบนี้เรียกว่า โคเรีย (chorea) เกิดจากมีความผิดปกติในสมองร่วมด้วย อาจพบเป็นอาการโดด ๆ หรือร่วมกับอาการอื่น ๆ ก็ได้ มักมีอาการหลังเจ็บคอ 1-6 เดือน (เกิดช้ากว่าอาการปวดข้อและอื่น ๆ) ถ้าพบมักแสดงว่ามีการอักเสบของหัวใจร่วมด้วย
สิ่งตรวจพบของ ไข้รูมาติก/Rheumatic Fever
มักมีไข้ และข้อบวมแดงร้อน
อาจพบผื่นอีริทีมา มาร์จินาตุม ตุ่มใต้ผิวหนัง หรืออาการโคเรีย
อาจตรวจพบความผิดปกติของหัวใจ เช่น เต้นไม่สม่ำเสมอ หรือใช้เครื่องฟังตรวจมีเสียงฟู่ (murmur) ซึ่งมัก
จะพบตรงบริเวณใต้ราวนมซ้าย
ถ้าเป็นรุนแรง อาจพบอาการของหัวใจวาย เช่น หอบ บวม ใช้เครื่องฟังตรวจปอดมีเสียงกรอบแกรบ(crepitation)
อาการแทรกซ้อนของ ไข้รูมาติก/Rheumatic Fever
ที่สำคัญได้แก่ โรคหัวใจรูมาติก ซึ่งจะเกิดขึ้นในผู้ป่วยไข้รูมาติก ที่ไม่ได้รับการรักษาอย่างจริงจัง แล้วมีการ
กำเริบของไข้รูมาติกซ้ำ ๆ ซาก ๆ ทำให้มีการอักเสบของหัวใจเรื้อรัง ในที่สุดลิ้นหัวใจเกิดการพิการอย่างถาวร
ผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจรูมาติก อาจไม่มีอาการแสดงอะไรในระยะแรก อาจตรวจพบโดยบังเอิญขณะตรวจเช็กร่างกาย
ซึ่งแพทย์จะใช้เครื่องฟังตรวจหัวใจได้ยินเสียงฟู่ (murmur) ที่บริเวณใต้ราวนมซ้าย
ถ้าหากไม่ได้รับการรักษา ในระยะอีกหลายปีต่อมาผู้ป่วยอาจเริ่มรู้สึกเหนื่อยง่าย ใจสั่น และเกิดภาวะหัวใจวายเรื้อรัง
กลายเป็นคนกึ่งพิการ
การรักษา ไข้รูมาติก/Rheumatic Fever
1. หากสงสัยเป็นไข้รูมาติก ควรแนะนำผู้ป่วยไปตรวจรักษาที่โรงพยาบาลภายใน 24 ชั่วโมง ผู้ป่วยมักจะต้อง
พักรักษาตัวในโรงพยาบาล อาจต้องวินิจฉัยโดยการตรวจเลือด (ตรวจ ESR, ASO titer), ตรวจคลื่นหัวใจ, เอกซเรย์ และให้การรักษาด้วยเพนวี หรืออีริโทรไมซิน อย่างน้อย10 วัน และให้แอสไพริน 2-4 เม็ดทุก
6 ชั่วโมง
ในรายที่มีอาการหัวใจอักเสบรุนแรง อาจเพิ่มสเตอรอยด์ เช่น เพร็ดนิโซโลน
ถ้ามีภาวะหัวใจวาย ก็ให้การรักษาแบบภาวะหัวใจวายร่วมได้
เมื่ออาการหายดีแล้ว ควรนัดผู้ป่วยมาตรวจรักษาเป็นประจำ โดยจะให้ยาปฏิชีวนะติดต่อกันเป็นระยะยาวเพื่อป้องกัน
มิให้ลิ้นหัวใจพิการ กลายเป็นโรคหัวใจรูมาติก วิธีที่สะดวก คือ ฉีดเบนซาทีนเพนิซิลลินเดือนละครั้งในขนาด
1.2 ล้านยูนิต ทั้งเด็กและผู้ใหญ่, หรือให้กินเพนวี เด็กให้ขนาด 200,000 ยูนิต (ผู้ใหญ่ 400,000 ยูนิต) วันละ 2 ครั้ง ทุกวัน, หรืออีริโทรไมซิน เด็กให้ขนาด 125 มก. (ผู้ใหญ่ 250 มก.) วันละ 2 ครั้งทุกวัน หรือซัลฟา
ไดอาซีน ขนาด 1 กรัมวันละครั้ง (น้ำหนักต่ำกว่า 30 กิโลกรัม ให้วันละ 500 มก.) ทุกวัน
สำหรับผู้ป่วยที่มีการอักเสบของหัวใจร่วมด้วย หรือมีอาการโคเรีย ควรใช้ยาปฏิชีวนะไปตลอดชีวิต
ส่วนผู้ป่วยที่มีการอักเสบของหัวใจ ถ้าไม่มีอาการกำเริบอีก อาจใช้ยาปฏิชีวนะป้องกันติดต่อกันอย่างน้อย 5 ปี
(ยกเว้นในเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 10 ปี ควรให้จนกระทั่งอายุ 15 ปีเป็นอย่างน้อย)*
2. ในรายที่สงสัยเป็นโรคหัวใจรูมาติก เช่น ใช้เครื่องฟังหัวใจได้ยินเสียงฟู่ (murmur) ควรแนะนำให้ผู้ป่วยไป
ตรวจที่โรงพยาบาล ถ้าเป็นจริงก็อาจต้องกินยาปฏิชีวนะดังกล่าวไปตลอดชีวิต
ในรายที่มีภาวะหัวใจวาย ก็ต้องให้ยารักษาแบบภาวะหัวใจวาย
ส่วนในรายที่ลิ้นหัวใจพิการมาก จนผู้ป่วยมีภาวะหัวใจวายรุนแรง อาจต้องผ่าตัดขยายลิ้นหัวใจที่ตีบ
หรือใส่ลิ้นหัวใจเทียม ซึ่งจะช่วยให้มีชีวิตยืนยาวไปได้นาน
* จากรายงานสรุปผลการประชุม มติและข้อเสนอแนะ เรื่องการป้องกันและควบคุมโรคไข้รูมาติก และโรคหัวใจ
รูมาติกในประเทศไทย 26-28 ธันวาคม 2526, โรงแรมสยามเบย์วิว ชลบุรี. โดยกรมการแพทย์ร่วมกับคณะ
อนุกรรมการป้องกัน และควบคุมโรคไข้รูมาติก และโรคหัวใจรูมาติก
ข้อแนะนำ
1. ถ้าพบเด็กมีอาการปวดข้อ หรือมีอาการสงสัยว่าเป็นไข้รูมาติก ควรแนะนำไปตรวจที่โรงพยาบาลโดยเร็ว
และถ้าเป็นโรคนี้จริง ควรแนะนำให้ผู้ป่วยติดต่อรักษากับแพทย์เป็นประจำ จะช่วยป้องกันมิให้กลายเป็นโรคหัวใจรูมาติกได้
2. เนื่องจากโรคนี้ พบมากในเด็ก อายุ 5-15 ปี ซึ่งอยู่ในวัยเรียน ครูในโรงเรียนและเจ้าหน้าที่อนามัยโรงเรียน
จึงนับว่ามีบทบาทต่อการควบคุม และป้องกันโรคนี้ได้เป็นอย่างมาก ควรหาทางส่งเสริมสนับสนุนให้ครู และ
เจ้าหน้าที่อนามัยที่โรงเรียนมีความรู้ และมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาในเรื่องนี้
การป้องกัน ไข้รูมาติก/Rheumatic Fever
โรคนี้สามารถป้องกันได้ด้วยการรักษาคออักเสบ หรือต่อมทอนซิลอักเสบ จากบีตาสเตรปโตค็อกคัสด้วยยาปฏิชีวนะ
ให้ได้ครบ 10 วันเป็นอย่างน้อย
ที่มา : enter.chandra.ac.th ,thailabonline.com,doctordek.com
.
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
Popular Posts
-
หัวใจของคนเราประกอบไปด้วย หัวใจห้องล่างสองห้องคือซ้ายและขวา( Left or Right Ventricle )และหัวใจห้องบนสองห้องคือขวาและซ้าย ( Left or Right Atr...
-
“โรคหัวใจ” เป็นคำที่กว้าง และฟังดูน่ากลัว แบ่งได้หลายชนิด ดังนี้ โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด คือเป็นตั้งแต่เกิด อาจวินิจฉัยได้ตั้งแต่แรกคลอด หร...
-
ไข้รูมาติก/Rheumatic Fever พบในคนทุกวัย แต่จะพบมากในเด็กอายุ 5-15 ปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในครอบครัวที่ฐานะค่อนข้างยากจน หรือ อยู่กันอย่างแออัด...
-
ลิ้นหัวใจ คนเรามีทั้งหมด 4 ลิ้น ทำหน้าที่ควบคุมการไหลเวียนของเลือดภายในหัวใจ จากหัวใจห้องบน ไปหัวใจห้องล่างและ ออกสู่เส้น เลือดเอออร์...
-
เส้นเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจ เรียกว่า เส้นเลือดแดงโคโรนารี่ มีรูเปิดอยู่ที่บริเวณโคนของเส้นเลือดแดงเอออร์ตา แบ่งเป็น 2 เส้น คือ เส้น...