1. หลอดเลือดดำได้รับอันตราย เช่นอุบัติเหตุกระดูกหัก กล้ามเนื้อถูกกระแทก หรือการผ่าตัด
2. เลือดในหลอดเลือดมีการไหลเวียนช้าลง เช่นการนั่งหรือนอนนาน หลังผ่าตัด อัมพาต การเข้าเผือก
3. การที่เลือดมีการแข็งตัวง่าย
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำ
- คนแก่ นอนไม่เคลื่อนไหวมากว่า 3 วัน
- อัมพาต
- การเข้าเผือก
- หลังผ่าตัดทำให้ต้องนอนนาน
- การที่ต้องนั่งรถ รถไฟ เครื่องบิน หรือนั่งไขว่ห้าง
- การใช้ยาคุมกำเนิด ฉีดยาเสพติด
- การตั้งครรภ์ หลังคลอด
- นอนไม่เคลื่อนไหวมากกว่า 3 วัน
- โรคมะเร็ง
- โรคทางพันธุกรรมบางโรค
อาการของโรคลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำ
ขาข้างที่เป็น dvt จะบวมกว่าอีกข้าง
การตรวจร่างกาย
การตรวจร่างกายต้องใช้การตรวจหลายอย่างมาช่วยในการวินิจฉัย
1. บวมเท้าที่เป็นข้างเดียว และอาจจะกดเจ็บบริเวณน่อง
2. เมื่อจับปลายเท้ากระดกเข้าหาตัวโดยที่เข่าเหยียดตรง[เรียกการตรวจนี้ว่า Homans Sign ]
3. อาจจะตรวจพบว่าหลอดเลือดดำโป่งและอาจจะคลำได้ ถ้าเส้นเลือดอักเสบเวลาคลำจะปวด
4. อาจจะมีไข้ต่ำๆ
การวินิจฉัยต้องอาศัยการตรวจพิเศษ
1. venography คือการฉีดสีเข้าไปในเส้นเลือดที่สงสัยเพื่อดูว่ามีลิ่มเลือดอุดหรือไม่ แต่ให้ผลการตรวจไม่แม่นยำ และอาจจะเกิดอาการแพ้จึงไม่นิยม
2. venous ultrasound เป็นการใช้ ultrasound ช่วยในการวินิจฉัย วิธีนี้ไม่เจ็บปวดให้ผลดี
3. MRI
การรักษา
หากวินิจฉัยว่าเป็น dvt จะต้องรีบให้การรักษาโดยรับตัวไวในโรงพยาบาลแพทย์จะเลือกให้ heparin หรือ low molecular weight heparin หลังจากนั้นต้องให้ warfarin เพื่อป้องกันลิ่มเลือดอีก 3 เดือน
การป้องการคือการลดปัจจัยเสี่ยงของการเกิดลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำลึกและการป้องกันเส้นเลือดขอด
.