ใช้หลักการส่งคลื่นเสียงที่ปลอดภัยเข้าไปในทรวงอก แล้วรับเสียงที่สะท้อนออกมาไปแปลเป็นภาพให้เห็นบนจอ ซึ่งจะแสดงถึงรูปร่าง ขนาดการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจและลิ้นหัวใจ ว่าปกติหรือไม่ โดยใช้หัวตรวจ (Transducer) ซึ่งดูคล้ายไมโครโฟน ส่งสัญญาณเสียงไปยังหัวใจของคุณและรับสัญญาณเสียงที่สะท้อนกลับ มาแปลงเป็นภาพให้เห็นบนจอ
การตรวจวิธีนี้เป็นการตรวจเพื่อดูขนาดของหัวใจตามแรงการบีบตัวของกล้ามเนื้อ หัวใจผ่านผนังหน้าอก, การทำงานของลิ้นหัวใจ, ภาวะน้ำในเยื่อหุ้มหัวใจ, ช่องหัวใจโต และตรวจหาภาวะหัวใจพิการแต่กำเนิด ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของอาการเหนื่อยหอบหรือแน่นหน้าอก
การเตรียมตัวก่อนการตรวจ
ยาและอาหาร
o การ ตรวจวิธีนี้ ไม่ต้องงดอาหาร หรือยาที่ทานประจำก่อนการตรวจ ยกเว้นกรณีที่ต้องตรวจประกอบกับการทดสอบด้วยการออกกำลังบนสายพานเลื่อน ควรปรึกษาแพทย์ก่อน
การเตรียมเสื้อผ้า
o ควรสวมชุดที่เป็นเสื้อและกางเกง และอาจจะต้องถอดเสื้ออก แล้วเปลี่ยนเป็นสวมเสื้อคลุมที่ทางโรงพยาบาลจัดไว้ให้แทน
ระยะเวลาในการตรวจ
o ควรมาพบแพทย์ให้ตรงตามเวลานัดหมาย
o การตรวจใช้เวลาไม่เกิน 45 นาที ดังนั้นควรเผื่อเวลาไว้สำหรับการเตรียมตัว
ขณะตรวจ
1. เจ้าหน้าที่จะติดแผ่นขั้วสัญญาณไฟฟ้า (electrode) ไว้บริเวณทรวงอกของคุณ เพื่อดูอัตราการเต้นของหัวใจ
2. จากนั้นแพทย์จะใช้หัวตรวจทาด้วยเจลเย็นๆขยับไปมาบนผนังทรวงอกของคุณ หัวตรวจจะสร้างคลื่นเสียงซึ่งจะถูกแปลงเป็นภาพหัวใจของคุณให้เห็นบนจอรับ สัญญาณ
3. คุณควรหายใจออกและกลั้นไว้ช่วงสั้นๆ เป็นพักๆ เพราะอากาศในปอดอาจมีผลต่อความชัดเจนต่อภาพที่เห็น
4. ภาพของหัวใจจะถูกบันทึกไว้ เพื่อให้แพทย์สามารถเปิดดูผลการตรวจ และใช้วินิจฉัยโรคภายหลังได้อีก
หลังการตรวจ
1. คุณควรถามแพทย์เกี่ยวกับแนวทางการปฏิบัติตัวเพื่อดูแลรักษาสุขภาพ
2. คุณสามารถกลับไปปฏิบัติภารกิจปกติได้ทันทีหลังการตรวจเสร็จสิ้น
3. เมื่อได้ผลการตรวจแล้ว แพทย์จะอธิบายไห้คุณทราบถึงสมรรถภาพหัวใจของคุณ และแนะนำแนว
ทางการตรวจรักษาที่เหมาะสมสำหรับคุณต่อไป
การตรวจชนิดนี้เป็นการตรวจหัวใจภายนอกในท่านอนด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง (Echocardiography) เพื่อให้เห็นการเคลื่อนไหว และการบีบตัวของหัวใจว่าปกติหรือไม่
ความดันโลหิตเป็นอย่างไร สามารถทำซ้ำได้โดยไม่เกิดอันตราย แบ่งย่อยออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่
• การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง ก่อนและหลังออกกำลังกาย
เป็นการตรวจ เพื่อดูการบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจก่อนและหลังการออกกำลังกาย เพื่อประเมินภาวะตีบของหลอดเลือดหัวใจ
• การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง หลังได้รับยา
เป็น การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง ร่วมกับการให้ยากระตุ้นหัวใจ เพื่อดูการทำงานของหัวใจ กล้ามเนื้อหัวใจ ลิ้นหัวใจ หลอดเลือดหัวใจ
• การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง ผ่านหลอดอาหาร
เป็น การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง ในกรณีที่ไม่สามารถตรวจพบด้วยวิธีการตรวจผ่านทางหน้าอก เพื่อตรวจหาความผิดปกติในหัวใจ
ที่มา : bangkokhearthospital.com
.
Popular Posts
-
หัวใจของคนเราประกอบไปด้วย หัวใจห้องล่างสองห้องคือซ้ายและขวา( Left or Right Ventricle )และหัวใจห้องบนสองห้องคือขวาและซ้าย ( Left or Right Atr...
-
“โรคหัวใจ” เป็นคำที่กว้าง และฟังดูน่ากลัว แบ่งได้หลายชนิด ดังนี้ โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด คือเป็นตั้งแต่เกิด อาจวินิจฉัยได้ตั้งแต่แรกคลอด หร...
-
ไข้รูมาติก/Rheumatic Fever พบในคนทุกวัย แต่จะพบมากในเด็กอายุ 5-15 ปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในครอบครัวที่ฐานะค่อนข้างยากจน หรือ อยู่กันอย่างแออัด...
-
ลิ้นหัวใจ คนเรามีทั้งหมด 4 ลิ้น ทำหน้าที่ควบคุมการไหลเวียนของเลือดภายในหัวใจ จากหัวใจห้องบน ไปหัวใจห้องล่างและ ออกสู่เส้น เลือดเอออร์...
-
เส้นเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจ เรียกว่า เส้นเลือดแดงโคโรนารี่ มีรูเปิดอยู่ที่บริเวณโคนของเส้นเลือดแดงเอออร์ตา แบ่งเป็น 2 เส้น คือ เส้น...