(Chest Pain) อาการเจ็บ แน่นหน้าอก สัญญาณอันตรายจากภาวะหัวใจขาดเลือด

การเจ็บหน้าอกเฉียบพลัน

ภาวะเจ็บหน้าอกเฉียบพลันอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น โรคที่เกิดในระบบทางเดินหายใจ ทางเดินอาหาร กล้ามเนื้อหัวใจ หรือ หลอดเลือด แต่สาเหตุที่สำคัญ คือ ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดจากหลอดเลือดหัวใจตีบซึ่งเป็นอันตรายถึงแก่ ชีวิตได้

สัญญาณอันตรายจากภาวะหัวใจขาดเลือด

เป็นอาการเจ็บหน้าอก ซึ่งมีอาการแน่นหน้าอกระหว่างราวนม ลิ้นปี่ คล้ายมีอะไรบีบรัดหรือกดทับ อาจร้าวไปที่คอ กราม แขนซ้ายด้านใน และอาจมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น เหงื่อออก ตัวเย็น เวียนศีรษะ หน้ามืด เหนื่อยหอบ นอนราบไม่ได้ ใจสั่น เป็นต้น อาการดังกล่าว เป็นลักษณะเฉพาะของโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด หรือหัวใจตายเฉียบพลันที่เป็นผลจากภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบตัน

เมื่อหลอดเลือดหัวใจตีบตัน กล้ามเนื้อหัวใจจะตายในเวลาอันรวดเร็ว ภายใน 6 ชั่วโมง กล้ามเนื้อหัวใจส่วนที่ขาดเลือดอาจตายมากถึง 90% และเหลือส่วนที่ดีอีกประมาณ 10% ถ้ากล้ามเนื้อหัวใจตายเป็นบริเวณกว้าง จะทำให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน หัวใจวายเฉียบพลัน และเสียชีวิตในที่สุด

http://img75.imageshack.us/img75/8177/181309909551.jpghttp://img43.imageshack.us/img43/6139/closedloopcatheterposit.jpg

ผู้ที่มีความเสี่ยงสูงในการเกิดภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบตันได้แก่ ผู้ชายที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป และผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 55 ปีขึ้นไป ที่มีภาวะของการเป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง สูบบุหรี่ เครียด ขาดการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ หรือมีประวัติสมาชิกในครอบครัวเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ

ทำไมผู้ป่วยจึงต้องมาถึงโรงพยาบาลโดยเร็ว หลังเกิดอาการแน่นหน้าอก

การมาถึงโรงพยาบาลโดยเร็วจะทำให้ผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัย และการรักษาที่รวดเร็ว ทันเวลา โดยทีมแพทย์ที่เชี่ยวชาญ พร้อมอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ทันสมัย อย่างครบถ้วน รวมถึงการปฏิบัติการอย่างเป็นขั้นตอน และมีประสิทธิภาพเพื่อ

- สามารถให้ยาละลายลิ่มเลือดได้อย่างรวดเร็ว ภายใน 30 นาที หลังผู้ป่วยมาถึงโรงพยาบาล
- สามารถขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูนภายใน 90-120 นาที หลังผู้ป่วยมาถึงโรงพยาบาล
- ทำการผ่าตัดหลอดเลือดหัวใจฉุกเฉินได้
- สามารถให้การรักษาได้ทันที ณ ที่เกิดเหตุ

หากท่านหรือผู้ใกล้ชิด เกิดอาการเจ็บแน่นหน้าอกสงสัยภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ควรพบแพทย์ หรือนำส่งโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด เพื่อความปลอดภัยในชีวิตของบุคคลที่ท่านรัก

ที่มา : โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ

.

Popular Posts

  ©Template Blogger Green by Dicas Blogger.

TOPO