ใครจะ ไปคิดนะครับว่าโรคผิวหนังเรื้อรังอย่าง “สะเก็ดเงิน” จะมีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ เมื่อหลายปีก่อน ผมมีคนไข้อายุประมาณ 40 กว่าปี เป็นโรคสะเก็ดเงิน มีข้ออักเสบจากโรคนี้ร่วมด้วย มาพบผมด้วยอาการแน่นหน้าอก โดยทั่วไปแล้วอายุขนาดนี้ยังไม่น่าจะเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ หรือ หากเป็นก็มักจะตีบบางที่บางจุด แต่รายนี้ พบว่าตีบมากมายหลายจุด หลอดเลือดหัวใจเหลือเพียงเส้นเล็กๆ ไม่สามารถให้การรักษาด้วยการขยายหลอดเลือดหัวใจ หรือ แม้แต่การทำผ่าตัด ต้องรักษาด้วยยาอย่างเดียว...ผมก็งงอยู่หลายปีว่าเหตุใดผู้ป่วยรายนี้จึง รุนแรงกว่ารายอื่นๆที่พบ จนกระทั่งได้อ่านบทความสรุปจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญหลายสาขา ลงความเห็นใน American Journal of Cardiology ธันวาคม 2551 นี่เอง พบว่า โรคสะเก็ดเงิน มีความสัมพันธ์กับโรคหลอดเลือดหัวใจชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วยที่อายุน้อย ความรู้นี้มาจากงานวิจัยที่ University of Pennsylvania สหรัฐอเมริกา ลงในวารสารการแพทย์ JAMA ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2549 เขาติดตามผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงินเปรียบเทียบกับคนที่ไม่มีโรค พบ ว่าคนที่เป็นโรคสะเก็ดเงินมีความเสี่ยงต่อ “กล้ามเนื้อหัวใจตาย” หรือ heart attack มากขึ้น ยิ่งอายุน้อยและโรคสะเก็ดเงินรุนแรงยิ่งเสี่ยงมากขึ้นเป็น 3.1 เท่า มิน่า คนไข้ผมถึงได้เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบที่รุนแรงขนาดนั้น กลไกเชื่อว่าอาจเกี่ยวข้องกับการอักเสบเรื้อรัง มีผลให้หลอดเลือดหัวใจมีการอักเสบและตีบง่ายขึ้นตามมา แต่อย่างไรก็ตามยังไม่มีข้อสรุปถึงสาเหตุหรือกลไกที่แน่นอน คำ แนะนำในปัจจุบัน คือ ผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงินที่รุนแรง ควรได้รับการประเมินทางหัวใจด้วย แม้ว่าจะไม่มีอาการทางหัวใจก็ตาม และ ควรได้รับการดูแลเรื่องปัจจัยเสี่ยงอื่นๆอย่างเข้มงวด เช่น บุหรี่ ความดันโลหิต ไขมันโคเลสเตอรอล น้ำตาลในเลือด เป็นต้น....
UPDATE 25 มิถุนายน 52
การ ศึกษาล่าสุด เป็นการศึกษาจาก Miami Miller School of Medicine ติดตามผู้เข้ารับการรักษาเนื่องจากโรคสะเก็ดเงิน จำนวน 3236 คน เปรียบเทียบกับคนวัยเดียวกันแต่เป็นโรคผิวหนังชิดอื่นๆ พบว่าผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงิน มีความเสี่ยงต่อ ภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง 2.18 เท่า, โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ 1.78 เท่า,โรคหลอดเลือดสมอง 1.7 เท่า,โรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบ 1.98 เท่า รวมๆกันแล้วมีความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือด ประมาณ 1.91 เท่า ซึ่งสูงมาก
ที่มา : http://www.thaiheartweb.com
.
Popular Posts
-
หัวใจของคนเราประกอบไปด้วย หัวใจห้องล่างสองห้องคือซ้ายและขวา( Left or Right Ventricle )และหัวใจห้องบนสองห้องคือขวาและซ้าย ( Left or Right Atr...
-
“โรคหัวใจ” เป็นคำที่กว้าง และฟังดูน่ากลัว แบ่งได้หลายชนิด ดังนี้ โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด คือเป็นตั้งแต่เกิด อาจวินิจฉัยได้ตั้งแต่แรกคลอด หร...
-
ไข้รูมาติก/Rheumatic Fever พบในคนทุกวัย แต่จะพบมากในเด็กอายุ 5-15 ปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในครอบครัวที่ฐานะค่อนข้างยากจน หรือ อยู่กันอย่างแออัด...
-
ลิ้นหัวใจ คนเรามีทั้งหมด 4 ลิ้น ทำหน้าที่ควบคุมการไหลเวียนของเลือดภายในหัวใจ จากหัวใจห้องบน ไปหัวใจห้องล่างและ ออกสู่เส้น เลือดเอออร์...
-
เส้นเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจ เรียกว่า เส้นเลือดแดงโคโรนารี่ มีรูเปิดอยู่ที่บริเวณโคนของเส้นเลือดแดงเอออร์ตา แบ่งเป็น 2 เส้น คือ เส้น...