มาดูชนิดของโรคหัวใจ Heart diseases - cardiac diseases

“โรคหัวใจ” เป็นคำที่กว้าง และฟังดูน่ากลัว แบ่งได้หลายชนิด ดังนี้

โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด คือเป็นตั้งแต่เกิด อาจวินิจฉัยได้ตั้งแต่แรกคลอด หรืออาจไม่มีอาการจนกว่าจะอายุมาก ความผิดปกตินี้อาจเกิดขึ้นกับทุกส่วนของหัวใจ เช่น หลอดเลือดหัวใจ ลิ้นหัวใจ ผนังกั้นห้องหัวใจ หรือ ตัวห้องหัวใจมีสภาพไม่สมบูรณ์ มักไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจน เชื่อว่าการติดเชื้อไวรัสและการได้รับสารเคมี ยาบางชนิดระหว่างตั้งครรภ์อ่อนๆ ความผิดปกติเหล่านี้ส่วนมากสามารถผ่าตัดแก้ไขได้

http://img504.imageshack.us/img504/5082/407227ad268073416809165.jpghttp://img97.imageshack.us/img97/318/heart13068112536813178.jpg

โรคลิ้นหัวใจ อาจ เป็นแต่กำเนิดหรือมาเป็นภายหลังก็ได้ มักเกิดจากการติดเชื้อคออักเสบ และไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องจึงเกิดการอักเสบของลิ้นหัวใจ เกิดลิ้นหัวใจตีบ รั่ว หรือเกิดจากการเสื่อมของลิ้นหัวใจเอง


โรคกล้ามเนื้อหัวใจ กล้ามเนื้อหัวใจทำงานผิดปกติ หรือกล้ามเนื้อหัวใจหนากว่าปกติ โรค ที่พบบ่อย คือ กล้ามเนื้อหัวใจเสีย เนื่องจากความดันโลหิตสูงที่ไม่ได้รับการรักษามานาน กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดหรือกล้ามเนื้อหัวใจตายจากหลอดเลือดหัวใจตีบ ตัน เป็นต้น การแก้ไข เช่น ขยายหลอดเลือดหัวใจ ผ่าตัดบายพาส

โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหัวใจขาดเลือด ลักษณะของโรคคือหลอดเลือดหัวใจที่นำเลือดไปเลี้ยงหัวใจมีความผิด ปกติทำให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด เกิดการทำงานผิดปกติ สาเหตุที่พบบ่อยที่สุดคือ การสะสม ของไขมันที่ผนัง ทำให้หลอดเลือดหัวใจตีบและตันในที่สุด

โรคเยื่อหุ้มหัวใจ เป็นโรคที่พบไม่บ่อย ส่วนใหญ่เกิดการอักเสบจากการติดเชื้อไวรัส แบคทีเรีย หรือเชื้อวัณโรค ส่วนใหญ่รักษาได้

โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ กลุ่มนี้มีหลายชนิดทั้งอันตรายและไม่อันตราย สาเหตุเกิดจากระบบไฟฟ้าในหัวใจทำงานผิดปกติไป

อาการ ผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บหน้าอก หอบ เหนื่อยง่าย ใจสั่น ขาบวม เป็นลม วูบ

http://img97.imageshack.us/img97/3416/chestpain46885230.jpghttp://img504.imageshack.us/img504/8971/0113269385826940758.jpg

อาการต่อไปนี้เข้าได้กับอาการเจ็บหน้าอกจากโรคหัวใจขาดเลือด


1. เจ็บแน่นๆ อึดอัด บริเวณกลางหน้าอก อาจเป็นด้านซ้ายหรือทั้งสองด้าน (มักจะไม่เป็นด้านขวาด้านเดียว)บางรายจะร้าวไปที่แขนซ้าย หรือ ทั้งสองข้าง หรือ จุกแน่นที่คอ บางรายเจ็บบริเวณกรามคล้ายเจ็บฟัน
2. อาการตามข้อ 1 เกิดขึ้นขณะออกกำลัง เช่น เดินเร็วๆ รีบ หรือ ขึ้นบันได วิ่ง
3. ในบางรายที่อาการรุนแรง อาการแน่นหน้าอกอาจเกิดขึ้นในขณะพัก เช่น นั่ง หรือ นอน หรือ หลังอาหาร
4. กรณีที่เกิดหลอดเลือดหัวใจอุดตัน กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน อาการจะรุนแรงมาก อาจมีอาการอื่นร่วมด้วยเช่น เหงื่อออกมาก เป็นลม

อาการต่อไปนี้ไม่เหมือนอาการเจ็บหน้าอกจากโรคหัวใจขาดเลือด

1.เจ็บแหลมๆคล้ายเข็มแทง เจ็บแปล๊บๆ เจ็บจุดเดียว กดเจ็บบริเวณหน้าอก
2.อาการเจ็บเกิดขึ้นในขณะพัก มีอาการนานเป็นชั่วโมงหรือเป็นวัน
3.อาการมากขึ้นเมื่อเปลี่ยนท่า หรือ ขยับตัว หรือ หายใจเข้าลึกๆ
4.อาการเจ็บร้าวขึ้นศีรษะ ปลายมือ ปลายเท้า

อาการหอบ เหนื่อ ยง่าย จากโรคหัวใจ จะมีอาการเหนื่อย หอบ หายใจเร็ว โดยเป็นเวลาออกแรง แต่ในรายที่เป็นรุนแรง จะเหนื่อยในขณะพัก บางรายจะเหนื่อยมากจนนอนราบไม่ได้ (นอนแล้วจะเหนื่อย ไอ) ต้องนอนศีรษะสูงหรือ นั่งหลับ

อาการเหนื่อยแบบหมดแรง มือเท้าเย็นชา พูดก็เหนื่อย (โดยอัตราการหายใจปกติ) เหล่านี้มักจะไม่ใช่อาการเหนื่อยจากโรคหัวใจ

อาการใจสั่น คือ การที่หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ ผิดจังหวะ หรือ เต้นไม่สม่ำเสมอ เต้นๆหยุดๆ อาการดังกล่าวอาจพบ ได้ในคนปกติ โรคหัวใจ และโรคอื่นๆที่มีผลต่อหัวใจ เช่น ต่อมไทรอยด์เป็นพิษ โรคปอด

อาการขาบวมจากโรคหัวใจ เกิดจากการที่หัวใจด้านขวาทำงานลดลง เลือดจากขาไม่สามารถ ไหลเทเข้าหัวใจด้านขวาได้โดยสะดวก จึงมีเลือดค้างอยู่ที่ขามากขึ้น

การเป็นลม วูบ คำว่า "วูบ" นี้ในความหมายของแพทย์แล้ว หมายถึง การหมดสติ หรือ เกือบหมดสติ ชั่วขณะ โดยอาจรู้สึกหน้ามืด จะเป็นลม ตาลาย มองไม่เห็นภาพชัดเจน โดยอาการเป็นอยู่ชั่วขณะ ไม่รวมถึงอาการเวียนศีรษะ บ้านหมุน โคลงเครง วูบวาบตามตัว หายใจไม่ออก อาการดังกล่าวอาจเกิดจาก ความผิดปกติของสมอง เช่น ลมชัก (แม้จะไม่ชักให้เห็น) เลือดออกในสมอง ความผิดปกติของหัวใจ เช่น หัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดร้ายแรง หรือหยุดเต้นชั่วขณะ

การตรวจทางโรคหัวใจ
การ ตรวจทางโรคหัวใจ ต้องอาศัยประวัติ อาการที่ละเอียด เพื่อดูว่าอาการดังกล่าวอาจเกิดจากโรคหัวใจหรือไม่ เนื่องจากมีหลายโรคที่ให้อาการคล้ายกับโรคหัวใจ อาจแบ่งคร่าวๆได้ 2 ส่วนใหญ่ๆ คือ

การตรวจพื้นฐาน ได้แก่

การตรวจร่างกาย เพื่อดูน้ำหนัก ส่วนสูง อ้วนหรือไม่ การจับชีพจร อัตราและความสม่ำเสมอของการเต้นของหัวใจ ความดัน โลหิต ฟังเสียงหัวใจว่ามีเสียงผิดปกติไหม นอกจากนั้นแล้วแพทย์จะตรวจร่างกายทุกระบบด้วย เพื่อดูว่ามีภาวะหัวใจล้มเหลวหรือไม่

คลื่นไฟฟ้าหัวใจ คลื่นไฟฟ้าหัวใจจะบอกจังหวะการเต้นของหัวใจ บอกขนาดห้องหัวใจ บอกโรคของเยื่อหุ้มหัวใจบางชนิด หรือ กล้ามเนื้อหัวใจตาย โดยคลื่นไฟฟ้าหัวใจจะผิดปกติก็ต่อเมื่อมีโรคหัวใจที่รุนแรง เช่น หัวใจขาดเลือดรุนแรง กล้ามเนื้อหัวใจตาย หัวใจเต้น ผิดจังหวะ เป็นต้น แต่คลื่นไฟฟ้าหัวใจที่ปกติ ก็ไม่ได้หมายความว่าไม่ได้เป็นโรคหัวใจ

เอกซเรย์ทรวงอก ซึ่งจะเห็นทั้งปอด หลอดเลือดแดงใหญ่ การกระจายของเลือดในปอด ภาวะน้ำท่วมปอด หรือ หัวใจล้มเหลว เงาของหัวใจซึ่งบอกขนาดหัวใจได้ดีพอควร

ตรวจเลือด การตรวจหาระดับสารต่างๆในเลือด ส่วนใหญ่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับหัวใจโดยตรง แต่เป็นการดูเพื่อหาปัจจัยเสี่ยง ของโรคหัวใจ เช่น เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง ช่วยในการวินิจฉัยแยกโรค และ การใช้ยาต่างๆ (เพื่อลดปัญหาแทรกซ้อนจากยา)
การตรวจพิเศษทางโรคหัวใจ และ การรักษาพิเศษทางโรคหัวใจ

การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง Echocardiogram

การทดสอบสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกาย Exercise Stress Test
การทดสอบการเป็นลมด้วยเตียงปรับระดับ Tilt Table Test
การบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจ 24 ชม. Holter หรือ Ambulatory ECG monitoring
การสวนหัวใจและฉีด"สี"ดูหลอดเลือดหัวใจ Cardiac Catheterization and Angiogram
การขยายหลอดเลือดด้วยบอลลูน Angioplasty
การตรวจระบบไฟฟ้าหัวใจ Electrophysiologic Study
การรักษาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะด้วยคลื่นวิทยุ Radiofrequency Ablation
การใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจชนิดถาวร Permanent Cardiac Pacemaker


.

กินเค็ม ระวังความดันสูง

กินเกลือเกินกับ ความดันโลหิตสูง

DJ: เกลือมีความสำคัญและเกี่ยวข้องกับความดันโลหิตสูงอย่างไร ?

อาจารย์ บรรหาร: ก่อนอื่นก็คงจะต้องทราบถึงคุณลักษณะของเกลือว่ามี สีขาว รสเค็ม เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ ละลายในน้ำแตกตัวเป็นโลหะโซเดียมสีเงินเป็นประจุบวกกับคลอรีนที่เป็นแก๊สพิษ สีเขียวเป็นประจุลบ เกลือก็คือการรวมของธาตุทั้ง 2 นี้ แล้วตกผลึก เกลือเป็นสิ่งจำเป็นในการดำรงชีวิตและมีความสำคัญมากมายกว่าที่คิดในการนำไป ใช้ประโยชน์ในปัจจุบันนี้ด้วยปริมาณถึง 300 ล้านตันต่อปี เช่น นำมาทำสบู่ ยาย้อมสี ฟอกหนังสัตว์หรือฟอกกระดาษ เก็บรักษาอาหาร อุปกรณ์ทำความเย็น ละลายหิมะตามถนนเป็นต้น ร่างกายของคนเรานอกจากประกอบไปด้วยน้ำเป็นส่วนมาก ถึงประมาณ 60% ส่วนประกอบที่สำคัญรองจากน้ำก็คือเกลือที่มีปริมาณมากถึง15%ของร่างกายเพราะ ว่าโซเดียมมีหน้าที่ควบคุมอัตราการถ่ายเทของน้ำในเซลล์แล้วยังมีบทบาทสำคัญ ในการสื่อสัญญาณไฟฟ้าระหว่างเซลล์ประสาทควบคุมการหดและคลายตัวของกล้ามเนื้อ แล้วยังช่วยเผาผลาญโปรตีนและคาร์โบไฮเดรตในร่างกายด้วย ดังนั้นเกลือจึงมีความสำคัญในการดำรงชีวิต และถ้าขาดเกลือก็จะทำให้ร่างกายอ่อนเพลีย การทำงานของระบบประสาทและกล้ามเนื้อจะเสื่อมลง คนปกติต้องการเกลือประมาณวันละ 400 มิลลิกรัมหมุนเวียนชดเชยเกลือในร่างกายผ่านทางหลอดเลือด แต่ถ้าบริโภคเกลือเกินความต้องการก็จะเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดความดัน โลหิตสูง หรือถ้ามีความดันโลหิตสูงอยู่แล้วก็ต้องลดปริมาณของเกลือให้ความดันโลหิต อยู่ในเกณฑ์ปกติ

DJ : ความดันโลหิตสูงเกิดขึ้นได้อย่างไร ?
http://img66.imageshack.us/img66/3599/salt30048092604810930.jpghttp://img94.imageshack.us/img94/7646/48052934806786.jpg
อาจารย์ บรรหาร : ความดันโลหิตหรือแรงดันเลือด เป็นองค์ประกอบทำให้ระบบไหลเวียนของหัวใจและหลอดเลือดดำเนินไปได้อย่างต่อ เนื่อง การบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจทำให้เกิดแรงดันให้ปริมาณเลือดจำนวนหนึ่งที่ อยู่ในหัวใจด้านซ้ายล่างให้เคลื่อนไปตามหลอดเลือดแดงใหญ่ต่อจากนั้นก็จะต้อง มีแรงดันเลือดให้เคลื่อนไปอย่างต่อเนื่องด้วยคุณสมบัติพิเศษของหลอดเลือดแดง ใหญ่ที่สามารถยืดหยุ่นหลอดเลือดแดงในช่วงที่กล้ามเนื้อหัวใจบีบตัว ผนังหลอดเลือดแดงใหญ่จะพองออกเพื่อรองรับปริมาณเลือดที่มาจากแรงหดตัว ของกล้ามเนื้อหัวใจ ส่วนในช่วงกล้ามเนื้อหัวใจคลายตัวกล้ามเนื้อของหลอดเลือดแดงใหญ่ก็หดกลับสู่ สภาพเดิมทำให้เกิดแรงดันส่งต่อเลือดให้เคลื่อนไปตามหลอดเลือดแดงที่เล็กลงใน ทุกส่วนของร่างกายไปเลี้ยงเซลล์ทุกเซลล์ในร่างกายด้วยอ๊อกซิเจนที่มาจากเม็ด เลือดแดง เพราะอ๊อกซิเจนเป็นสิ่งที่เซลล์ต่าง ๆ ขาดไม่ได้ ถ้าเซลล์ต่าง ๆ ขาดอ๊อกซิเจนก็จะทำให้สูญเสียอวัยวะจนถึงชีวิตได้
ค่าปกติของความดัน โลหิตในช่วงที่หัวใจบีบตัว/คลายตัว เหมาะสมที่สุดอยู่ที่ 120/80 มิลลิเมตรปรอท การวินิจฉัยความดันโลหิตสูง ต้องวัดความดันโลหิตถ้าความดันโลหิตเท่ากับหรือสูงกว่า 140/90 มิลลิเมตรปรอทขึ้นไปก็จะเข้าเกณฑ์ความดันโลหิตสูง สาเหตุของความดันโลหิตสูง แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ความดันโลหิตสูงที่ทราบสาเหตุ อันเกิดจากความผิดปกติของอวัยวะ เช่น ไต ต่อมหมวกไต หรือจากระบบต่อมไร้ท่อ เป็นต้น อีกประเภทหนึ่ง คือความดันโลหิตสูงที่ไม่ทราบสาเหตุอย่างแท้จริง ซึ่งมีอยู่ประมาณ 90% และมักจะเกิดร่วมกับปัจจัยเสี่ยงและสิ่งแวดล้อม ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่ทำให้เกิดความดันโลหิตสูง คือ เกลือ ซึ่งไม่ใช่เฉพาะสารสีขาวแต่จะรวมไปถึงของที่มีรสเค็มทั้งหมด ในทุกสภาพ เช่น เนื้อเค็ม ปลาเค็ม น้ำปลา ซีอิ้ว และน้ำจิ้มต่าง ๆ ที่มีเกลือผสมอยู่ ปัจจุบันนี้พบโรคอ้วนที่ทำให้เกิดภาวะดื้ออินซูลีน เป็นผลให้เกิดความดันโลหิตสูงและเบาหวานได้อีกด้วย และถ้ารวมการสูบบุหรี่และไขมันผิดปกติก็จะ กลุ่ม ปัจจัยเสี่ยงหลักต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด

DJ: โรคความดันโลหิตสูงอันตรายอย่างไร
อาจารย์ บรรหาร: ความดันโลหิตสูง ซึ่งเมื่อก่อนนี้เราเชื่อกันว่าเป็นเพียงสภาวะของระบบไหลเวียน แต่ในปัจจุบันนี้ด้วยความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ พบว่าเป็นโรคชนิดหนึ่งที่มีการเปลี่ยนแปลงในระดับโมเลกุลของพันธุกรรมแต่ที่ แตกต่างไปจากโรคอื่นก็คือ โรค ความดันโลหิตสูงมีความสัมพันธ์กับทุกอวัยวะในร่างกายที่ต้องการอ๊อกซิเจน จึงเป็นโรคที่เกิดได้ทุกที่ จึงเรียกว่า โรคแทรกซ้อน เช่น กรณีหลอดเลือดแดงตีบตันหรือหลอดเลือดแดงส่วนปลายแตกที่สมองก็จะเกิดเป็น อัมพฤตอัมพาต หรือถ้าหลอดเลือดแดงของหัวใจในตีบตันก็จะทำให้เกิดหัวใจวายแบบเฉียบพลัน เช่นเดียวกัน ถ้าไปเกิดที่หลอดเลือดแดงของไตก็ทำให้ไตวาย หรือถ้าหลอดเลือดแดงส่วนปลายบริเวณขาและเท้าก็จะสูญเสียอวัยวะส่วนนั้นไป โดยทั่วไปอาการความดันโลหิตสูงมักจะเริ่มต้นจากไม่มีอาการอะไรเลย หรือค่อย ๆ มีอาการ มึน ปวดศีรษะ สมาธิลดลง หรือหงุดหงิดง่าย เครียด และถ้าไม่ได้รับการรักษาก็จะลุกลามไปจนถึงเกิดโรคแทรกซ้อนดังที่กล่าวมา แล้ว นับว่าเป็นการศูนย์เสียชีวิตหรือคุณภาพชีวิตก่อนวัยอันควร ทั้ง ๆ ที่ความดันโลหิตสูงนั้นรักษาและป้องกันได้ โดยจะต้องเปลี่ยนพฤติกรรมงดและลดปัจจัยเสี่ยงหลัก ที่ได้กล่าวมาแล้ว เพิ่มการออกกำลังกายและเรื่องการรับประทานอาหารให้ถูกสุขลักษณะด้วยการ รู้จักเลือกชนิดของอาหารที่มีโคอเรสเตอรอลต่ำ และลดอาหารที่มีกรดไขมันชนิดอิ่มตัว หรือของทอด ส่วนในปริมาณอาหารที่รับประทาน(แคลลอรี่)ต้องไม่มากเกินไปให้พอเพียงกับ พลังงานที่ต้องใช้ต่อวันจะไม่ทำให้อ้วน ทั้งนี้จำเป็นที่จะต้องควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ โดยการใช้หลักง่าย ๆ ส่วนสูงเป็นเซ็นติเมตร ลบด้วยหนึ่งร้อย ก็จะเป็นน้ำหนักที่ไม่ควรจะเกินของเพศชาย ส่วนของเพศหญิงให้ลดลงอีก 10% หลักการที่ถูกต้องของการออกกำลังกายคือ 1. ต้องออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องไม่หยุดพักให้ได้เป็นเวลา 30 นาทีขึ้นไป 2. จะต้องออกกำลังกายเป็นประจำทุกวันหรืออย่างน้อย สัปดาห์ละ 4 วัน 3. การออกกำลังกายมี 2 รูปแบบ เรียกว่า แบบแอโรบิก ที่เน้นการเคลื่อนไหวอวัยวะทุกส่วนอย่างต่อเนื่อง ที่เพิ่มระดับแรงออกกำลังกายไปจนถึงระดับความแรงคงตัว ( Steady state) ส่วนการออกกำลังกายอีกแบบหนึ่งซึ่งจะต้องมีการสร้างพลังด้วยเกร็งกล้ามเนื้อ ให้เกิดพลังมารองรับการออกกำลัง เช่น การยกน้ำหนัก มนุษย์เป็นสัตว์ที่มีกระดูกสันหลัง ซึ่งประกอบไปด้วยข้อทั้งหมด 34 ข้อ เพื่อใช้ในการปฏิบัติงานทุกรูปแบบและได้ประโยชน์ในการเคลื่อนไหว เกิดความคล่องตัวที่อำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวัน ฉะนั้นการดูแลข้อกระดูกทั้งหลายนี้ไม่ให้เกิดโรคข้อเสื่อม ต้องปฏิบัติด้วยการออกกำลังกายเท่านั้น เพื่อหล่อเลี้ยงและฝึกฝนให้ข้อต่อเคลื่อนไหวอย่างไม่มีอุปสรรคจะทำให้ดำรง ไว้ซึ่งคุณภาพชีวิตในปั่นปลาย
http://img379.imageshack.us/img379/8286/hhh249143334917831.jpghttp://img66.imageshack.us/img66/6706/large49940134995772.jpg
สุดท้ายนี้ : ความสำคัญของเกลือ พบว่าถ้าสามารถลดการบริโภคเกลือลงได้ครึ่งหนึ่ง จะช่วยลดการเสียชีวิตจากอัมพาตและกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันทั่วโลกได้ ประมาณ 2.5 ล้านคนต่อปี การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการเลือกรับประทานอาหารรวมทั้งการออกกำลังกายอย่าง สม่ำเสมอและต่อเนื่อง และโปรดอย่าลืมงดสูบบหรี่ก็จะทำให้ท่านปลอดโรคหัวใจและหลอดเลือดอีกทั้งยัง เพิ่มคุณภาพชีวิตได้ยืนยาว

“เกลือคือส่วนหนึ่งของชีวิต ฉะนั้นถ้าท่านดูแลการบริโภคเกลือชีวิตก็จะสดใส”

ที่มา : นพ.บรรหาร กออนันตกูล
ศูนย์หัวใจ รพ.วิภาวดี

.

รู้จัก ภาวะหัวใจโต

ขนาดหัวใจที่โตกว่าปกตินั้น อาจแบ่งเป็น 2 ชนิดใหญ่ๆ คือ โตจากกล้ามเนื้อที่หนาตัวกว่าปกติ ลองนึกภาพคนเล่นกล้าม นักเพาะกาย กล้ามเนื้อใหญ่ขึ้น เพราะทำงานหนัก กล้ามเนื้อหัวใจก็เช่นกัน หากต้องทำงานหนัก บีบตัวมากๆ เช่น ในกรณีความดันโลหิตสูง หรือ ลิ้นหัวใจตีบ ก็ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจหนา ขึ้นได้ อีกประการหนึ่งคือขนาดของหัวใจโตขึ้น เพราะกล้ามเนื้อหัวใจบีบตัวไม่ดี มีเลือดคั่งค้างในห้องหัวใจมากคล้ายลูกโป่งใส่น้ำ ทำให้ขนาดโตขึ้น มีหลายโรคที่ทำให้เกิดภาวะหัวใจที่เป็นดาราประจำก็ คือ ความดันโลหิตสูง ลิ้นหัวใจตีบหรือรั่ว หัวใจขาดเลือดหรือกล้ามเนื้อหัวใจตาย เบาหวาน เป็นต้น นอกจากนั้นแล้วก็ยังมีโรคของกล้ามเนื้อหัวใจที่หนากว่าปกติ โดยไม่ทราบสาเหตุอีกด้วย

http://img262.imageshack.us/img262/6554/2043177554319722.jpg

ภาวะหัวใจโตไม่จำเป็นต้องมีอาการผิดปกติใดๆ หากจะมีอาการ ก็จะเป็นอาการเนื่องจากโรคที่เป็นต้นเหตุ และอาการจาก หัวใจล้มเหลว เช่น เหนื่อยง่าย หอบ แน่นหน้าอก เป็นต้น การตรวจร่างกายจะบอกได้หากหัวใจมีขนาดโตมาก แต่โดยทั่วไปแล้ว การตรวจร่างกายจะมุ่งหาสาเหตุของหัวใจโต มากกว่าที่จะบอกขนาดของหัวใจ การตรวจที่จำเป็นคือ คลื่นไฟฟ้าหัวใจ และ เอกซเรย์ทรวงอก (ปอดและหัวใจ) หากกล้ามเนื้อหัวใจหนากว่าปกติมาก หรือ เคยมีปัญหากล้ามเนื้อหัวใจตายมาก่อน จะแสดง ให้เห็น จากคลื่นไฟฟ้าหัวใจ แต่อย่างไรก็ตามคลื่นไฟฟ้าหัวใจเป็นการตรวจที่มีความไวต่ำ หมายความว่า แม้คลื่นไฟฟ้าหัวใจปกติ ก็มิได้หมายความว่าหัวใจไม่โต หรือ ไม่มีโรคหัวใจขาดเลือด คลื่นไฟฟ้าหัวใจอาจบอกว่าโต แต่จริงๆแล้วไม่โตก็ได้ เอกซเรย์ ทรวงอกบอกขนาดหัวใจได้ดีพอสมควร แต่ก็ผิดพลาดได้ง่าย เพราะขึ้นอยู่กับเทคนิค ระยะห่างระหว่างหัวใจกับฟิล์ม การหายใจ เป็นต้น บ่อยครั้งที่ดูว่าหัวใจโตจากเอกซเรย์ แต่จริงๆแล้วขนาดหัวใจปกติ ไม่โตเลย ในทางกลับกัน เอกซเรย์บอกว่าปกติแต่ความจริงมีกล้ามเนื้อหัวใจหนากว่าปกติมาก ก็เป็นได้ ต้องเข้าใจว่า การตรวจเหล่านี้ ล้วนมีข้อจำกัดทั้งสิ้น บ่อยครั้งที่แพทย์สั่งตรวจพิเศษเหล่านี้หลายๆอย่าง ทั้งนี้เพื่อให้ได้ข้อมูลมากที่สุด เพื่อประกอบการตัดสินใจ ในการให้ความเห็นและรักษา

การตรวจวินิจฉัย

ไม่มีวิธีไหนดีที่สุด โดยไม่มีข้อจำกัดในการตรวจเลย วิธีดูขนาดหัวใจที่ยอมรับกันว่าดีมากในปัจจุบัน คือ การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง หรือ Echocardiography เครื่องมือจะส่งคลื่นเสียง ความถี่สูง ทะลุผ่านอวัยวะต่างๆที่จะตรวจเมื่อผ่านส่วนต่างๆคลื่นเสียงเหล่านี้จะสะท้อน กลับ ความสามารถในการสะท้อนกลับขึ้นอยู่กับชนิดของเนื้อเยื่อที่มันผ่าน เช่น เลือด กระดูก กล้ามเนื้อ เหล่านี้ให้สัญญาณการสะท้อนกลับแตกต่างกัน คอมพิวเตอร์จะบันทึกสัญญาณสะท้อนกลับเหล่านี้ นำมาสร้างภาพขึ้นเห็นเป็นอวัยวะที่แพทย์กำลังตรวจอยู่ ดังนั้นหากตรวจที่หัวใจ ก็จะเห็นห้องหัวใจ ซึ่งวัดขนาดได้ว่าโตหรือไม่ เห็นการทำงานของลิ้นหัวใจ เห็นกล้ามเนื้อหัวใจ และ ความสามารถในการบีบตัวว่าเป็นอย่างไร ดังนั้นจึงให้รายละเอียดได้มากกว่าการตรวจอื่นๆ แต่อย่างไรก็ตาม การตรวจชนิดนี้ไม่เห็น หลอดเลือดเลี้ยงหัวใจ และเห็นภาพไม่ชัดนักในผู้ป่วยที่อ้วนหรือมีโรคปอด (ยกเว้นการตรวจโดยผ่านหลอดอาหาร) ผู้ที่ควรได้รับการตรวจ

ผู้ที่มีอาการของหัวใจล้มเหลว หัวใจขาดเลือด ความดันโลหิตสูง หรือตรวจร่างกายพบระบบการทำงานหัวใจผิดปกติ ควรได้รับการตรวจนี้ เพื่อดูความสามารถ ในการบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจ นอกจากนั้นแล้วผู้ที่เอกซเรย์พบว่า หัวใจโตกว่าปกติบางราย ควรดูให้แน่ใจว่า โตจริงไหม ทั้งนี้แล้วแต่แพทย์โรคหัวใจ จะพิจารณาเป็นรายๆ ในผู้ป่วยที่เสี่ยงต่อโรคหัวใจขาดเลือด เช่น เบาหวาน หากพบว่า หัวใจโตจากเอกซเรย์ก็ควรตรวจละเอียดเช่นกัน เนื่องจาก ภาวะหัวใจโตไม่จำเป็นต้องมีอาการ การรักษา

การรักษาภาวะหัวใจโต คือการรักษาตามสาเหตุ เช่น รักษาความดันโลหิตสูง ผ่าตัดลิ้นหัวใจ หรือรักษาภาวะหัวใจล้มเหลว เป็นต้น แม้ว่าการรักษาอาจ ไม่ได้ลดขนาดหัวใจลงให้เห็นได้ชัดเจนจากเอกซเรย์ในบางราย แต่การรักษาจะช่วยป้องกันไม่ให้โตขึ้นเรื่อยๆได้ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

ที่มา - น.พ.เสมชัย เพาะบุญ
อายุรแพทย์โรคหัวใจ ศูนย์หัวใจ รพ.วิภาวดี


.

หัวใจโต เป็นอย่างไร?

หัวใจโต เป็นอย่างไร เป็นโรคหัวใจชนิดหนึ่งหรือไม่ น.พ.บัญชา ศันสนีวิทยกุล อายุรแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคหัวใจ ให้คำตอบไว้ในรายการ ไทยคลินิค ดอท คอม ค่ะ

ผู้ดำเนินรายการ: หัวใจคนปกติขนาดเท่าไร
น.พ.บัญชา : ขนาดหัวใจคนปกติโดยทั่วไปขนาดเท่ากับกำปั้นมือของเจ้าของไม่เล็กไม่ใหญ่ ขนาดพอดี

ผู้ดำเนินรายการ : อาการ โรคหัวใจ หรืออาการผิดปกติเกี่ยวกับหัวใจมีอะไรบ้าง
น.พ.บัญชา : โรคหัวใจมีหลายอย่าง เวลาคนไข้มาสอบถามว่ากลัวจะเป็นโรคหัวใจ เป็นโรคหัวใจหรือ เปล่า
คนไข้จะไม่รู้ว่าความจริงแล้วโรคหัวใจมีหลายประเภท เช่น โรคหัวใจ ลิ้นหัวใจ เช่น การติดเชื้อที่ลิ้นหัวใจ การถูกทำลายที่ลิ้นหัวใจ หรือว่าเป็นโรคของกล้ามเนื้อหัวใจเสื่อม คือ กล้ามเนื้อหัวใจที่เคยบีบตัวมาตลอดชีวิตก็เริ่มทำงานลดลง เสื่อมสภาพไปเร็วกว่ากำหนด หรือโรคหัวใจที่พบบ่อยที่สุดทุกวันนี้ คือโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคหัวใจพิการแต่กำเนิดมีหลากหลายเหลือเกิน
http://img101.imageshack.us/img101/2350/319041508264153533.jpg
ผู้ดำเนินรายการ : ที่พบมากที่สุดคือ หลอดเลือดหัวใจตีบ ใช่ไหมคะ
น.พ.บัญชา : ใช่ครับ โรคหลอดเลือดหัวใจ เป็นโรคที่พบบ่อยมากขึ้นเรื่อยๆ ในสังคมไทย ซึ่งเปลี่ยนจากสังคมตะวันออกเป็นสังคมตะวันตก คือว่าเรามีการบริโภคอาหารที่มีไขมันมากขึ้น มีความเครียดมากขึ้น สูบบุหรี่มากขึ้น อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เป็นพิษเป็นภัยต่อหัวใจมากขึ้น ทำให้โรคหลอดเลือดหัวใจตีบเพิ่มปริมาณมากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อเทียบกับโรคหัวใจชนิดอื่น ๆ

ผู้ดำเนินรายการ : การเกิดโรคของแต่ละอย่าง ทั้งที่เกี่ยวกับลิ้นหัวใจ กล้ามเนื้อหัวใจ หรือว่าเส้นเลือด สาเหตุของมันแตกต่างกันอย่างไร
น.พ.บัญชา : แตกต่างกันค่อนข้างมาก ยกตัวอย่าง เช่น โรคลิ้นหัวใจ ที่มักจะเกิดในสภาพสังคมคนที่ค่อนข้างจะยากจนซักหน่อยนึง เพราะสาเหตุการเกิดเนื่องจากมีการติดเชื้อที่บริเวณทางเดินหายใจ หลังจากนั้นเชื้อหรือปฏิกิริยาจากการติดเชื้อก็ลงไปจู่โจมที่ลิ้นหัวใจ ทำให้ลิ้นหัวใจเกิดการอักเสบ เกิดการทำลายเกิดขึ้นแล้วเกิดลิ้นหัวใจตีบ และลิ้นหัวใจรั่วตามมา ซึ่งภาวะนี้ทุกวันนี้ในสังคมที่พัฒนาขึ้นแล้วอย่างบ้านเราพอเป็นไข้หวัดขึ้น ที เราก็มักจะได้รับยาปฏิชีวนะกันค่อนข้างเร็ว เชื้อโรคก็ไม่เพิ่มปริมาณมากขึ้น ปฏิกิริยาต่อสู้กับเชื้อโรคก็ไม่ไปจู่โจมที่หัวใจ เพราะฉะนั้น โรคลิ้นหัวใจ จึงลดลงค่อนข้างมาก โดยเฉพาะในชุมชนเมือง ก็ยังเหลือแต่ในชนชนบท ซึ่งยังห่างไกลการรักษาพยาบาลอยู่ แต่เรื่องของหลอดเลือดตีบที่พบบ่อย และเป็นที่กังวลของคนมากขึ้น ทุกวันนี้ เราลองมานึกดูนะครับว่าหัวใจคนเรา เคยทานหัวใจหมูก็จะเห็นว่าเป็นอวัยวะที่เป็นก้อน และก็จะมีผนังกล้ามเนื้อหัวใจอยู่ กล้ามเนื้อหัวใจต้องทำงานตลอดเวลา 24 ช.ม.ต่อวัน 7 วันต่อสัปดาห์ / 52 สัปดาห์ต่อปี จะเห็นว่า หัวใจก็ต้องการอาหารไปเลี้ยงเหมือนกัน เพราะเขาทำงานหนักจึงจะต้องมีเลือดมาเลี้ยงเขา เลือดที่มาเลี้ยงหัวใจก็อยู่บนผิวของหัวใจ และส่งมาเลี้ยงหัวใจเพื่อให้หัวใจทำงานได้ตามปกติ ทีนี้วันดีคืนดี หลอดเลือดหัวใจที่เคยไหลเวียนได้สะดวกเหมือนกับท่อส่งน้ำก็เกิดอาการอุดตัน เกิดขึ้น ไหลเวียนไม่สะดวก แต่การที่ท่อส่งน้ำจะเกิดตีบตันขึ้นมา มันไม่ได้เกิดขึ้นง่าย ๆ มันมีตัวเร่งอยู่ประมาณ 7 อย่าง ที่ทำให้มันตีบมากขึ้น คือ

1.เพศชาย
เพศชายค่อนข้างจะเสียเปรียบกว่าเพศหญิง เกิดก็ยาก ตายก็ง่าย โรคหัวใจก็เป็นง่ายกว่าเพศหญิงเยอะ พออายุเกิน 45 ปี ก็เริ่มเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ พร้อมอายุที่เพิ่มขึ้น ในขณะที่ผู้หญิงมักจะต้องเกิดเมื่อ 55 ปีไปแล้ว หรือหลังจากวัยหมดประจำเดือนไปแล้ว

2.อายุ
เมื่ออายุมากขึ้น โอกาสเกิดโรค
หลอดเลือดหัวใจตีบก็จะเพิ่มขึ้น ถึงแม้หน้าตาจะดูเด็กแต่เราก็เปลี่ยนความเสื่อมภายในไม่ได้อยู่ดี

3.พันธุกรรม
ถ้าคุณพ่อคุณแม่เป็นโรคหัวใจเร็ว
แนวโน้มเราจะมีโรคหัวใจที่เกิดขึ้นค่อนข้างเร็ว บางคนอายุ 35 ปี ก็มาด้วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายแล้ว ดังนั้นพันธุกรรมก็เป็นตัวกำหนดว่า เราจะเป็นโรคหัวใจชนิดหลอดเลือดหัวใจตีบมากง่ายหรือเปล่า

4.การสูบบุหรี่
ยิ่งสูบมากเท่าไหร่ โรคหัวใจก็ถามหาเร็วขึ้นไม่ใช่แต่โรคปอดเท่านั้น

5.โรคความดันโลหิตสูง

6.โรคเบาหวาน

7.โรคไขมันสูง

8.ภาวะเครียด คนที่ชอบการแข่งขัน ชอบเอาชนะและไม่เดินทางสายกลางก็มักจะได้โรคหัวใจแถมไปด้วย และจะยืนอยู่บนความสำเร็จไม่ได้นาน นี่คือสาเหตุของโรคหลอดเลือดหัวใจตีบส่วนสาเหตุของโรคหัวใจอื่น ๆ ก็จะหลากหลายกันออกไป (แต่โรคใจอ่อน ใจง่ายนั้นไม่เกี่ยว แล้วแต่บุคคลเอง ) และผ่าตัดแปลงเพศแล้ว มันก็ไม่ได้เปลี่ยนพันธุกรรมของความเป็นเพศชายไปได้ มันแก้ไขไม่ได้ แต่มีปัจจัยบางอย่างที่แก้ไขได้ก็คือ ถ้าเป็นเบาหวานก็ควบคุมเบาหวานให้ดี อย่าบริโภคอาหารที่หวานเกินกำลังของร่างกาย ถ้าเป็นความดันโลหิตสูง ก็ควบคุมความดัน ถ้าเป็นคนที่ชอบสูบบุหรี่ อันนี้ต้องลดลงชัดเจน นอกจากนี้ยังมีการควบคุมระยะยาวด้วยการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ มีหลายปัจจัยที่ควบคุมได้เหมือนกัน เพียงแต่ว่าต้องอาศัยความอดทนเป็นแบบนักกีฬา

ผู้ดำเนินรายการ : สรุปโรคหัวใจโต คืออะไรกันแน่คะ เพราะคุณผู้ฟังสงสัย
น.พ.บัญชา : ภาวะหัวใจโต ไม่ถือเป็นโรคแต่เป็นภาวะหนึ่งของโรคหัวใจ นั่นหมายความว่าโรคหัวใจที่กล่าวมาแล้วข้างต้นนั้น ไม่ว่าจะเป็นโรคหัวใจ กล้ามเนื้อหัวใจเสื่อม โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ มาถึงจุดหนึ่ง เมื่อปล่อยให้โรคดำเนินไปมากๆ ขึ้นแล้ว จะเกิดภาวะหัวใจโตขึ้นเพราะฉะนั้นถ้าปล่อยให้หัวใจโตแล้ว จะเป็นสัญญาณเตือนว่าวันข้างหน้าโรคหัวใจนี้ จะพัฒนาขึ้นสู่โรคหลอดเลือดหัวใจ และโรคหัวใจล้มเหลว เข้าสู่โรคหัวใจระยะสุดท้ายและมีโอกาสเสียชีวิต สรุปก็คือ ไม่ว่าโรคหัวใจจะอยู่เฉยอย่างไรก็ตาม ถ้ารักษาไม่ดีก็นำมาซึ่งภาวะหัวใจโต แล้วก็ทำให้หัวใจล้มเหลวได้ในที่สุด

ที่มา : http://www.vibhavadi.com/



.

(Chest Pain) อาการเจ็บ แน่นหน้าอก สัญญาณอันตรายจากภาวะหัวใจขาดเลือด

การเจ็บหน้าอกเฉียบพลัน

ภาวะเจ็บหน้าอกเฉียบพลันอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น โรคที่เกิดในระบบทางเดินหายใจ ทางเดินอาหาร กล้ามเนื้อหัวใจ หรือ หลอดเลือด แต่สาเหตุที่สำคัญ คือ ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดจากหลอดเลือดหัวใจตีบซึ่งเป็นอันตรายถึงแก่ ชีวิตได้

สัญญาณอันตรายจากภาวะหัวใจขาดเลือด

เป็นอาการเจ็บหน้าอก ซึ่งมีอาการแน่นหน้าอกระหว่างราวนม ลิ้นปี่ คล้ายมีอะไรบีบรัดหรือกดทับ อาจร้าวไปที่คอ กราม แขนซ้ายด้านใน และอาจมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น เหงื่อออก ตัวเย็น เวียนศีรษะ หน้ามืด เหนื่อยหอบ นอนราบไม่ได้ ใจสั่น เป็นต้น อาการดังกล่าว เป็นลักษณะเฉพาะของโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด หรือหัวใจตายเฉียบพลันที่เป็นผลจากภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบตัน

เมื่อหลอดเลือดหัวใจตีบตัน กล้ามเนื้อหัวใจจะตายในเวลาอันรวดเร็ว ภายใน 6 ชั่วโมง กล้ามเนื้อหัวใจส่วนที่ขาดเลือดอาจตายมากถึง 90% และเหลือส่วนที่ดีอีกประมาณ 10% ถ้ากล้ามเนื้อหัวใจตายเป็นบริเวณกว้าง จะทำให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน หัวใจวายเฉียบพลัน และเสียชีวิตในที่สุด

http://img75.imageshack.us/img75/8177/181309909551.jpghttp://img43.imageshack.us/img43/6139/closedloopcatheterposit.jpg

ผู้ที่มีความเสี่ยงสูงในการเกิดภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบตันได้แก่ ผู้ชายที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป และผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 55 ปีขึ้นไป ที่มีภาวะของการเป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง สูบบุหรี่ เครียด ขาดการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ หรือมีประวัติสมาชิกในครอบครัวเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ

ทำไมผู้ป่วยจึงต้องมาถึงโรงพยาบาลโดยเร็ว หลังเกิดอาการแน่นหน้าอก

การมาถึงโรงพยาบาลโดยเร็วจะทำให้ผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัย และการรักษาที่รวดเร็ว ทันเวลา โดยทีมแพทย์ที่เชี่ยวชาญ พร้อมอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ทันสมัย อย่างครบถ้วน รวมถึงการปฏิบัติการอย่างเป็นขั้นตอน และมีประสิทธิภาพเพื่อ

- สามารถให้ยาละลายลิ่มเลือดได้อย่างรวดเร็ว ภายใน 30 นาที หลังผู้ป่วยมาถึงโรงพยาบาล
- สามารถขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูนภายใน 90-120 นาที หลังผู้ป่วยมาถึงโรงพยาบาล
- ทำการผ่าตัดหลอดเลือดหัวใจฉุกเฉินได้
- สามารถให้การรักษาได้ทันที ณ ที่เกิดเหตุ

หากท่านหรือผู้ใกล้ชิด เกิดอาการเจ็บแน่นหน้าอกสงสัยภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ควรพบแพทย์ หรือนำส่งโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด เพื่อความปลอดภัยในชีวิตของบุคคลที่ท่านรัก

ที่มา : โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ

.

หัวใจทำงานอย่างไร? - การทำงานของหัวใจ

หัวใจเริ่มเต้นตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา กล้ามเนื้อหัวใจมีลักษณะพิเศษกว่ากล้ามเนื้ออื่นๆ คือ สามารถปล่อยกระแสไฟฟ้าได้เอง ไฟฟ้าที่เกิดขึ้นจะเริ่มต้นจากหัวใจห้องขวาบน เรียกว่า Sinus Node โดยมีอัตราการปล่อยไฟฟ้าประมาณ 60-100 ครั้งต่อนาที (ถูกควบคุมด้วยฮอร์โมนหลายชนิด) ไฟฟ้าที่ออกจาก Sinus Node จะกระจายออกไปตามเซลนำไฟฟ้า ซึ่งมีอยู่ทั่วไปในหัวใจ เริ่มจากขวาไปซ้าย (ห้องบนขวาไปห้องบนซ้าย) และลงล่างด้วย เมื่อเซลกล้ามเนื้อหัวใจถูกกระแสไฟฟ้านี้ ก็จะเกิดการหดตัวขึ้น ทำให้เกิดการบีบตัวของห้องหัวใจ ดังนั้นการบีบตัวของห้องหัวใจจึงเริ่มจากด้านขวามาซ้าย และ ห้องบนก่อนห้องล่าง

วงจรการไหลเวียนของ เลือดจะเริ่มจาก หัวใจห้องขวาบนรับเลือดดำจากส่วนต่างๆของร่างกาย เช่น แขน ขา เลือดส่วนนี้จะไหลผ่านลิ้นหัวใจไตรคัสปิด (Tricuspid) ไปยังหัวใจห้องขวาล่าง ซึ่งจะบีบตัวตามมาไล่เลือด (เป็นเลือดดำ) ออกไปฟอกที่ปอดโดยผ่านหลอดเลือดที่เรียกว่า Pulmonary Artery เลือดจะถูกฟอกที่ปอดโดยอาศัยการแลกเปลี่ยน gas ผ่านทางหลอดเลือดเล็กๆที่ผนังถุงลมของปอด จากนั้นเลือด (เป็นเลือดแดง) จะไหลมารวมกันที่หลอดเลือดใหญ่ที่เรียกว่า Pulmonary Vein เพื่อไหลกลับเข้าสู่หัวใจอีกครั้งที่ห้องซ้ายบน เลือดไหลจากห้องซ้ายบนลงมาซ้ายล่างโดยผ่านลิ้นหัวใจไมตรัล (Mitral) เมื่อเลือด (แดง) อยู่ในห้องหัวใจซ้ายล่างแล้วก็พร้อมที่จะถูกฉีดออกไปเลี้ยงร่างกาย ทางหลอดเลือดแดงใหญ่ Aorta ผ่านลิ้นหัวใจเอออร์ติค (Aortic) เมื่อผ่านส่วนต่างๆแล้ว เลือดจะกลับสู่หัวใจด้านขวาอีกครั้ง

http://img96.imageshack.us/img96/3158/electricalsystem7136816.jpg

จะ เห็นได้ว่าระบบไฟฟ้าหัวใจมีประสิทธิภาพมากในการควบคุมวงจรการบีบตัวของกล้าม เนื้อหัวใจ ทำให้แต่ละห้องหัวใจสัมพันธ์กัน ดังนั้น ไม่ว่าระบบไฟฟ้าหัวใจผิดปกติ ลิ้นหัวใจผิดปกติ หรือ กล้ามเนื้อหัวใจไม่บีบตัว ย่อมมีผลต่อร่างกายทั้งสิ้น


Surgeons Repair A Common Congenital Heart Problem.

Heart Center cardiologist Sanjay K. Gandhi, M.D., assistant professor of medicine performed a congenital heart defect repair live on the Internet Tuesday, June 6 at 5 p.m. The procedure will be narrated by his colleague, cardiologist Renato M. Santos, M.D., assistant professor of medicine.



.

Amazing video of open heart surgery being performed. Not for the squeemish, but very educational.

มาดูเทคโนโลยีการตรวจหัวใจ..ที่รพ.กรุงเทพ

การตรวจหัวใจและหลอดเลือดหัวใจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูง

เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูง (64-slice multi-detector CT scan) เป็นเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูงรุ่นใหม่ล่าสุด มีการพัฒนาให้ทำการตรวจได้เร็วขึ้น สามารถให้ภาพเอกซเรย์ได้มากขึ้นถึง 64 ภาพ ต่อการหมุนของหลอดเอกซเรย์หนึ่งรอบ หรือประมาณ 160 ภาพต่อวินาที โดยภาพที่ได้จากการตรวจมีความละเอียดสูงแต่ละภาพหนาเพียง 0.625 มม.

ด้วย คุณสมบัติที่พัฒนาขึ้นมากนี้ เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูง (64-slice multi-detector CT scan) นอกจากใช้ในการตรวจอวัยวะทั่วไป เช่น สมอง ปอด ช่องท้อง และอวัยวะในอุ้งเชิงกราน ยังสามารถนำมาใช้ในการตรวจหัวใจ ซึ่งเป็นอวัยวะที่มีการเคลื่อนไหวตลอดเวลาได้อย่างชัดเจน ให้ภาพเอกซเรย์ที่ละเอียดคมชัดและผลการตรวจวินิจฉัยที่แม่นยำ โดยเฉพาะพยาธิสภาพของหลอดเลือดหัวใจ (coronary artery) ซึ่งมีความแม่นยำของการตรวจใกล้เคียงกับการฉีดสีผ่านสายสวนหลอดเลือด โดยไม่ต้องใส่สายสวนผ่านหลอดเลือดแดงและยังได้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ปริมาณแคลเซียมหรือหินปูนที่เกาะตามผนังหลอดเลือดหัวใจ นอกจากนี้สามารถใช้ในการตรวจการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจ เยื่อหุ้มหัวใจ รวมทั้งหลอดเลือดแดงส่วนอื่นทั้งร่างกาย และสามารถทำการตรวจได้โดยไม่ต้องนอนโรงพยาบาล
http://www.bangkokheart.com/images/0014.jpg
http://img180.imageshack.us/img180/4131/001597695699771246.jpg
การตรวจหัวใจและหลอดเลือดด้วย 64-slice multi-detector CT scan เหมาะสำหรับกรณีต่างๆ ดังนี้

1.ผู้มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบสูงและต้องการทราบพยาธิสภาพของหลอดเลือดหัวใจแต่เนิ่นๆ
2.ผู้ที่มีอาการสงสัยว่ามีโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ได้แก่ เจ็บหรือแน่นหน้าอก เหนื่อยง่าย
3.กรณีที่ตรวจพบความผิดปกติไม่ชัดเจนจากการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจขณะเดินสายพาน
4.ใช้ในการตรวจประเมินภาวะหลอดเลือดหัวใจในผู้ที่จำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดใหญ่
5.ใช้ตรวจติดตามการรักษาในผู้ที่ได้รับการผ่าตัดบายพาสหลอดเลือดหัวใจ หรือใส่ขดลวดในหลอดเลือดหัวใจ

แม้ ว่าการตรวจหัวใจและหลอดเลือดโดยใช้เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูงจะ เป็นการตรวจที่ปลอดภัย ใช้เวลาในการตรวจน้อย และให้ผลการตรวจที่แม่นยำ แต่มีข้อจำกัด ไม่แนะนำในกรณีที่ผู้ป่วยมีภาวะไตวาย หรือผู้ป่วยที่มีประวัติแพ้สารทึบรังสีชนิดรุนแรง

ที่มา :
http://www.oknation.net/blog/print.php?id=20938

.

อาการของโรคลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำ

สาเหตุใหญ่ๆที่ทำให้เกิดภาวะนี้ได้แก่

1. หลอดเลือดดำได้รับอันตราย เช่นอุบัติเหตุกระดูกหัก กล้ามเนื้อถูกกระแทก หรือการผ่าตัด
2. เลือดในหลอดเลือดมีการไหลเวียนช้าลง เช่นการนั่งหรือนอนนาน หลังผ่าตัด อัมพาต การเข้าเผือก
3. การที่เลือดมีการแข็งตัวง่าย

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำ

- คนแก่ นอนไม่เคลื่อนไหวมากว่า 3 วัน
- อัมพาต
- การเข้าเผือก
- หลังผ่าตัดทำให้ต้องนอนนาน
- การที่ต้องนั่งรถ รถไฟ เครื่องบิน หรือนั่งไขว่ห้าง
- การใช้ยาคุมกำเนิด ฉีดยาเสพติด
- การตั้งครรภ์ หลังคลอด
- นอนไม่เคลื่อนไหวมากกว่า 3 วัน
- โรคมะเร็ง
- โรคทางพันธุกรรมบางโรค

อาการของโรคลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำ
http://img73.imageshack.us/img73/329/image09492159.jpg
ขาข้างที่เป็น dvt จะบวมกว่าอีกข้าง

อาการที่สำคัญคืออาการบวมที่เท้าเนื่องจากการไหลกลับของเลือดไม่ดีมักจะบวมข้างเดียว บางรายอาจจะเห็นเส้นเลือดโปงพอง อาจจะมีอาการปวดกล้ามเนื้อหรือเป็นตะคริวพบได้ครึ่งหนึ่งของผู้ป่วย โดยเฉพาะเวลากระดกข้อเท้าจะทำให้ปวดมากขึ้น เมื่อกดบริเวณน่องก็จะทำให้ปวด ผู้ป่วยบางรายอาจจะไม่มีอาการที่เท้าอาจจะมาพบแพทย์ด้วยเรื่องหอบเหนื่อย เนื่องจากลิ่มเลือดไปอุดในปอด
การตรวจร่างกาย

การตรวจร่างกายต้องใช้การตรวจหลายอย่างมาช่วยในการวินิจฉัย

1. บวมเท้าที่เป็นข้างเดียว และอาจจะกดเจ็บบริเวณน่อง
2. เมื่อจับปลายเท้ากระดกเข้าหาตัวโดยที่เข่าเหยียดตรง[เรียกการตรวจนี้ว่า Homans Sign ]
3. อาจจะตรวจพบว่าหลอดเลือดดำโป่งและอาจจะคลำได้ ถ้าเส้นเลือดอักเสบเวลาคลำจะปวด
4. อาจจะมีไข้ต่ำๆ

การวินิจฉัยต้องอาศัยการตรวจพิเศษ

1. venography คือการฉีดสีเข้าไปในเส้นเลือดที่สงสัยเพื่อดูว่ามีลิ่มเลือดอุดหรือไม่ แต่ให้ผลการตรวจไม่แม่นยำ และอาจจะเกิดอาการแพ้จึงไม่นิยม
2. venous ultrasound เป็นการใช้ ultrasound ช่วยในการวินิจฉัย วิธีนี้ไม่เจ็บปวดให้ผลดี
3. MRI

การรักษา

หากวินิจฉัยว่าเป็น dvt จะต้องรีบให้การรักษาโดยรับตัวไวในโรงพยาบาลแพทย์จะเลือกให้ heparin หรือ low molecular weight heparin หลังจากนั้นต้องให้ warfarin เพื่อป้องกันลิ่มเลือดอีก 3 เดือน

การป้องการคือการลดปัจจัยเสี่ยงของการเกิดลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำลึกและการป้องกันเส้นเลือดขอด

.

การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ - Electrocardiogram (ECG, EKG)

หัวใจของคนเราประกอบไปด้วย หัวใจห้องล่างสองห้องคือซ้ายและขวา( Left or Right Ventricle )และหัวใจห้องบนสองห้องคือขวาและซ้าย ( Left or Right Atrium) การทำงานของหัวใจจะทำหน้าที่สูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกาย หัวใจจะได้รับไฟฟ้าซึ่งเกิดจากเซลล์ชนิดพิเศษในหัวใจซึ่งสามารถสร้างกระแส ไฟฟ้าเองซึ่งเรียกว่า Sinus node กระแสไฟฟ้าจะวิ่งผ่านไปตามกล้ามเนื้อหัวใจทำให้หัวใจบีบตัว

การ ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจเป็นวิธีการตรวจหาโรคหัวใจที่ง่ายและได้ผลดี การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจเป็นตรวจกระแสไฟฟ้าที่กล้ามเนื้อหัวใจผลิตออกมาขณะ ที่หัวใจบีบตัว โดยเริ่มต้นที่จุดที่เซลล์กล้ามเนื้อหัวใจชนิดพิเศษที่สามารถสร้างกระแส ไฟฟ้าได้เอง เราเรียกจุดนี้ว่า Sinus node กระแสไฟฟ้าจะวิ่งผ่านกล้ามเนื้อหัวห้องบน เกิดกระแสไฟฟ้าที่เราตรวจได้เรียก P wave กระแสจะมาหยุดที่รอยต่อระหว่างหัวใจห้องบนและห้องล่างเรียกว่า AV Node หลังจากนั้นกระแสไฟฟ้าจะวิ่งไปหัวใจห้องข่างล่าง?ั้งซ้ายและขวาและทำให้เกิด กระแสไฟฟ้าที่เรียกว่า QRS complex ดูตัวอย่างกราฟไฟฟ้าหัวใจของคนปกติ

http://img28.imageshack.us/img28/6412/ekg87115648716365.jpghttp://img441.imageshack.us/img441/1096/ekg87202758723130.jpg


คำที่เกี่ยวข้อง : ความรู้ เรื่องคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ,ประโยชน์ของการตรวจ คลื่นไฟฟ้าหัวใจ EKG , หัวใจทำงานอย่างไร?


กราฟดังกล่าวแสดงเฉพาะด้านใดด้านหนึ่ง โดยทั่วไปการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจแบบเป็น

  1. Limb Leads หมายถึงการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจโดยวัดที่แขนและขา การวัดนี้มี 6 ชื่อคือ Lead 1 , Lead2, Lead3, avr,avl,avf
  2. Chest Leads หมายถึงการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจโดยการตามกระแสไฟฟ้าหัวใจที่บริเวณหน้าอก มี 6 แนวได้แก่ V1,V2,V3,V4,V5,V6

ลองดูตัวอย่างกราฟไฟฟ้าหัวใจทั้งหมดของคนปกติ

http://img22.imageshack.us/img22/6883/ekg9357998.jpg


คลื่นไฟฟ้าหัวใจจะบอกอะไรได้บ้าง?

คลื่นไฟฟ้าสามารถบอกให้เราทราบโรคของหัวใจและความผิดปกติของเกลือแร่โรคที่ใช้คลื่นไฟฟ้าในการช่วยวินิจฉัยได้แก่

  1. กล้าม เนื้อหัวใจขาดเลือด เช่นกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน หรือกล้ามเนื้อหัวใจตาย แต่สำหรับที่มีกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด แต่ไม่ถึงกับตาย การตรวจคลื่นไฟฟ้ากลุ่มนี้อาจจะให้ผลปกติซึ่งอาจจะต้องไปวิ่งสายพานเพื่อน ตรวจ ข้อต้องระวังอีกข้อคือในภาวะที่หัวใจขาดเลือดเฉียบพลันในชั่งเริ่มต้นการ ตรวจคลื่นไฟฟ้าอาจจะปกติได้ ต้องใช้วิธีตรวจซ้ำ
  2. กล้ามเนื้อหัวใจหนา
  3. โรคเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ
  4. ลิ่มเลือดอุดหลอดเลือด
  5. การเต้นหัวใจผิดปกติ
  6. เกลือแร่ผิดปกติ เช่นโปแตสเซี่ยมสูงไปหรือต่ำไป

แพทย์จะสั่งการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจในกรณีต่อไปนี้

  • เมื่อคุณมีอาการเจ็บหน้าอก และแพทย์สงสัยว่าจะเกิดจากกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด หรือเจ็บหน้าอกจากเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ
  • เพื่อตรวจดูคลื่อนไฟฟ้าหัวใจ
  • เมื่อสงสัยว่ากล้ามเนื้อหัวใจจะหนา
  • ติดตามผลการรักษา หรือผลข้างเคียงจากยา
  • ตรวจดูเครื่องกระตุ้นหัวใจว่ายังทำงานเป็นปกติหรือไม่
  • เช็คร่างกายหากคุณมีโรคความดันโลหิต เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง

การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจไม่สามารถบอกว่าเป็นหัวใจวาย

การเตรียมตัวสำหรับการตรวจ

การ ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจไม่เจ็บ ไม่เสียเวลา คุณนอนบนเตียงเจ้าหน้าที่จะเอาขั้วไฟฟ้ามาติดที่แขน ขา และหน้าอก หลังจากนั้นจะตรวจกระแสไฟฟ้าหัวใจใช้เวลาไม่ถึง 5 นาทีก็เสร็จ

ระหว่างการตรวจอย่าพูดหรือเคลื่อนไหวเพราะจะทำให้เกิดคลื่นรบกวนคลื่นไฟฟ้าหัวใจ

การตรวจนี้เจ็บปวดหรือไม่?

http://img39.imageshack.us/img39/8924/12leadecgonbody94218939.jpg

ไม่มีความเจ็บปวด

การตรวจนี้มีความเสียงหรือไม่?

การตรวจนี้ไม่มีความเสี่ยงหรือเจ็บปวดแต่อย่างใด

ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการตรวจ

  • เครื่องมือไม่สมบูรณ์
  • แผ่น electrode ไม่แนบสนิทกับผิวหนัง
  • คุณคลื่อนไหว หรือพูด
  • ออกกำลังกายอย่างหนักก่อนการตรวจ
  • กังวล หายใจหอบลึก
  • การติด electrode ผิดตำแหน่ง

ข้อที่ควรคำนึงเกี่ยวกับการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ

  • หากท่านมีอาการหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจในระยะแรกอาจจะปกติ
  • การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจควรจะต้องตรวจขณะพักก่อนการตรวจขณะออกกำลังกาย
  • แพทย์บางท่านแนะนำให้ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจเมื่อายุย่าง 35 เพื่อเป็นค่าที่เอาไว้เปรียบเทียบ
  • โรค บางโรคจะปรากฏเมื่อออกกำลังกายหรือขณะมีอาการ ดังนั้นอาจจะจำเป็นต้องตรวจคลื่นไฟฟ้าขณะออกกำำลังกาย หรือตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจตลอด 24 ชั่วโมง ( ambulatory electrocardiogram)

การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจมีสองแบบได้แก่

  1. การตรวจไฟฟ้าแบบตรวจเมื่อแพทย์สั่ง เช่นเมื่อมาพบแพทย์และมีอาการเจ็บหน้าอก แพทย์จะสั่งตรวจ
  2. การ ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจแบบตลอด 24 ชั่วโมง การตรวจนี้จะใช้กรณีที่ผู้ป่วยมีอาการเหมือนว่าจะเกิดจากโรคหัวใจ แต่การตรวจขณะนั้นไม่พบความผิดปกติ แพทย์จะสั่งตรวจคลื่นไฟฟ้าตลอด 24 ชั่วโมง โดยการติดเครื่องมือไว้กับตัวท่านตลอด 24 ชั่วโมงและนำเครื่องมาวิเคราะห์ว่าตลอด 24 ชั่วโมงมีสิ่งผิดปกติเกี่ยวกับหัวใจหรือไม่


.

การตรวจหัวใจด้วย คลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง

ใช้หลักการส่งคลื่นเสียงที่ปลอดภัยเข้าไปในทรวงอก แล้วรับเสียงที่สะท้อนออกมาไปแปลเป็นภาพให้เห็นบนจอ ซึ่งจะแสดงถึงรูปร่าง ขนาดการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจและลิ้นหัวใจ ว่าปกติหรือไม่ โดยใช้หัวตรวจ (Transducer) ซึ่งดูคล้ายไมโครโฟน ส่งสัญญาณเสียงไปยังหัวใจของคุณและรับสัญญาณเสียงที่สะท้อนกลับ มาแปลงเป็นภาพให้เห็นบนจอ
การตรวจวิธีนี้เป็นการตรวจเพื่อดูขนาดของหัวใจตามแรงการบีบตัวของกล้ามเนื้อ หัวใจผ่านผนังหน้าอก, การทำงานของลิ้นหัวใจ, ภาวะน้ำในเยื่อหุ้มหัวใจ, ช่องหัวใจโต และตรวจหาภาวะหัวใจพิการแต่กำเนิด ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของอาการเหนื่อยหอบหรือแน่นหน้าอก

การเตรียมตัวก่อนการตรวจ

ยาและอาหาร
o การ ตรวจวิธีนี้ ไม่ต้องงดอาหาร หรือยาที่ทานประจำก่อนการตรวจ ยกเว้นกรณีที่ต้องตรวจประกอบกับการทดสอบด้วยการออกกำลังบนสายพานเลื่อน ควรปรึกษาแพทย์ก่อน
การเตรียมเสื้อผ้า
o ควรสวมชุดที่เป็นเสื้อและกางเกง และอาจจะต้องถอดเสื้ออก แล้วเปลี่ยนเป็นสวมเสื้อคลุมที่ทางโรงพยาบาลจัดไว้ให้แทน
ระยะเวลาในการตรวจ
o ควรมาพบแพทย์ให้ตรงตามเวลานัดหมาย
o การตรวจใช้เวลาไม่เกิน 45 นาที ดังนั้นควรเผื่อเวลาไว้สำหรับการเตรียมตัว

http://img96.imageshack.us/img96/5359/picturebig0438875153.jpghttp://img261.imageshack.us/img261/8079/ec038884698.jpg
ขณะตรวจ

1. เจ้าหน้าที่จะติดแผ่นขั้วสัญญาณไฟฟ้า (electrode) ไว้บริเวณทรวงอกของคุณ เพื่อดูอัตราการเต้นของหัวใจ
2. จากนั้นแพทย์จะใช้หัวตรวจทาด้วยเจลเย็นๆขยับไปมาบนผนังทรวงอกของคุณ หัวตรวจจะสร้างคลื่นเสียงซึ่งจะถูกแปลงเป็นภาพหัวใจของคุณให้เห็นบนจอรับ สัญญาณ
3. คุณควรหายใจออกและกลั้นไว้ช่วงสั้นๆ เป็นพักๆ เพราะอากาศในปอดอาจมีผลต่อความชัดเจนต่อภาพที่เห็น
4. ภาพของหัวใจจะถูกบันทึกไว้ เพื่อให้แพทย์สามารถเปิดดูผลการตรวจ และใช้วินิจฉัยโรคภายหลังได้อีก

หลังการตรวจ

1. คุณควรถามแพทย์เกี่ยวกับแนวทางการปฏิบัติตัวเพื่อดูแลรักษาสุขภาพ
2. คุณสามารถกลับไปปฏิบัติภารกิจปกติได้ทันทีหลังการตรวจเสร็จสิ้น
3. เมื่อได้ผลการตรวจแล้ว แพทย์จะอธิบายไห้คุณทราบถึงสมรรถภาพหัวใจของคุณ และแนะนำแนว
ทางการตรวจรักษาที่เหมาะสมสำหรับคุณต่อไป

การตรวจชนิดนี้เป็นการตรวจหัวใจภายนอกในท่านอนด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง (Echocardiography) เพื่อให้เห็นการเคลื่อนไหว และการบีบตัวของหัวใจว่าปกติหรือไม่
ความดันโลหิตเป็นอย่างไร สามารถทำซ้ำได้โดยไม่เกิดอันตราย แบ่งย่อยออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่

• การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง ก่อนและหลังออกกำลังกาย

เป็นการตรวจ เพื่อดูการบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจก่อนและหลังการออกกำลังกาย เพื่อประเมินภาวะตีบของหลอดเลือดหัวใจ

• การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง หลังได้รับยา

เป็น การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง ร่วมกับการให้ยากระตุ้นหัวใจ เพื่อดูการทำงานของหัวใจ กล้ามเนื้อหัวใจ ลิ้นหัวใจ หลอดเลือดหัวใจ

• การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง ผ่านหลอดอาหาร

เป็น การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง ในกรณีที่ไม่สามารถตรวจพบด้วยวิธีการตรวจผ่านทางหน้าอก เพื่อตรวจหาความผิดปกติในหัวใจ

ที่มา : bangkokhearthospital.com


.

โรคสะเก็ดเงิน กับ โรคหลอดเลือดหัวใจ

ใครจะ ไปคิดนะครับว่าโรคผิวหนังเรื้อรังอย่าง “สะเก็ดเงิน” จะมีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ เมื่อหลายปีก่อน ผมมีคนไข้อายุประมาณ 40 กว่าปี เป็นโรคสะเก็ดเงิน มีข้ออักเสบจากโรคนี้ร่วมด้วย มาพบผมด้วยอาการแน่นหน้าอก โดยทั่วไปแล้วอายุขนาดนี้ยังไม่น่าจะเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ หรือ หากเป็นก็มักจะตีบบางที่บางจุด แต่รายนี้ พบว่าตีบมากมายหลายจุด หลอดเลือดหัวใจเหลือเพียงเส้นเล็กๆ ไม่สามารถให้การรักษาด้วยการขยายหลอดเลือดหัวใจ หรือ แม้แต่การทำผ่าตัด ต้องรักษาด้วยยาอย่างเดียว...ผมก็งงอยู่หลายปีว่าเหตุใดผู้ป่วยรายนี้จึง รุนแรงกว่ารายอื่นๆที่พบ จนกระทั่งได้อ่านบทความสรุปจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญหลายสาขา ลงความเห็นใน American Journal of Cardiology ธันวาคม 2551 นี่เอง พบว่า โรคสะเก็ดเงิน มีความสัมพันธ์กับโรคหลอดเลือดหัวใจชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วยที่อายุน้อย ความรู้นี้มาจากงานวิจัยที่ University of Pennsylvania สหรัฐอเมริกา ลงในวารสารการแพทย์ JAMA ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2549 เขาติดตามผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงินเปรียบเทียบกับคนที่ไม่มีโรค พบ ว่าคนที่เป็นโรคสะเก็ดเงินมีความเสี่ยงต่อ “กล้ามเนื้อหัวใจตาย” หรือ heart attack มากขึ้น ยิ่งอายุน้อยและโรคสะเก็ดเงินรุนแรงยิ่งเสี่ยงมากขึ้นเป็น 3.1 เท่า มิน่า คนไข้ผมถึงได้เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบที่รุนแรงขนาดนั้น กลไกเชื่อว่าอาจเกี่ยวข้องกับการอักเสบเรื้อรัง มีผลให้หลอดเลือดหัวใจมีการอักเสบและตีบง่ายขึ้นตามมา แต่อย่างไรก็ตามยังไม่มีข้อสรุปถึงสาเหตุหรือกลไกที่แน่นอน คำ แนะนำในปัจจุบัน คือ ผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงินที่รุนแรง ควรได้รับการประเมินทางหัวใจด้วย แม้ว่าจะไม่มีอาการทางหัวใจก็ตาม และ ควรได้รับการดูแลเรื่องปัจจัยเสี่ยงอื่นๆอย่างเข้มงวด เช่น บุหรี่ ความดันโลหิต ไขมันโคเลสเตอรอล น้ำตาลในเลือด เป็นต้น....
http://img133.imageshack.us/img133/1608/psoriaticarthritis85984.jpg
UPDATE 25 มิถุนายน 52
การ ศึกษาล่าสุด เป็นการศึกษาจาก Miami Miller School of Medicine ติดตามผู้เข้ารับการรักษาเนื่องจากโรคสะเก็ดเงิน จำนวน 3236 คน เปรียบเทียบกับคนวัยเดียวกันแต่เป็นโรคผิวหนังชิดอื่นๆ พบว่าผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงิน มีความเสี่ยงต่อ ภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง 2.18 เท่า, โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ 1.78 เท่า,โรคหลอดเลือดสมอง 1.7 เท่า,โรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบ 1.98 เท่า รวมๆกันแล้วมีความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือด ประมาณ 1.91 เท่า ซึ่งสูงมาก

ที่มา : http://www.thaiheartweb.com

.

คุณประโยชน์ของช็อกโกแลต ต่อสุขภาพหัวใจ

เรื่อง ราวคุณประโยชน์ของช็อกโกแลต ต่อสุขภาพหัวใจ ไม่ใช่เรื่องใหม่เลย ความจริงแล้วประโยชน์ของมันไม่ได้อยู่ที่ช็อกโกแลตครับ แต่อยู่ที่สารที่อยู่ในโกโก้ (Cocoa) นั่นคือ สารกลุ่มฟลาโวนอยด์ (Flavonoids) สารนี้พบได้ในผัก ผลไม้หลายชนิด ที่เรารู้จักกันดี คือ ประโยชน์ของไวน์แดงก็มาจากการที่ไวน์แดงมี ฟลาโวนอยด์สูงนั่นเอง หรือแม้กระทั่งผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ต่างๆ เช่น อาไซอิ เบอร์รี่(Acai Berries) ก็มีสารพวกนี้สูงมาก คุณประโยชน์ของ ฟลาโวนอยด์ มีการศึกษายืนยันว่าเป็นผลดีต่อสุขภาพ เช่น ป้องกันการเกาะกลุ่มกันของเกร็ดเลือด (แบบเดียวกับแอสไพริน แต่ฤทธิ์อ่อนกว่า) ลดความดันโลหิตได้เล็กน้อย และมีฤทธิ์ต้านการอักเสบ (anti-inflammation) (อ้างอิงจาก 136 scientific publications on chocolate, Harvard University school of Public Health) นอกจากนั้นยังช่วยให้ฮอร์โมนอินสุลินทำงานได้ดีขึ้นอีกด้วย

http://img29.imageshack.us/img29/2724/chocolate83340008336018.jpghttp://img169.imageshack.us/img169/4397/milkchocolatebar3008342.jpg

การศึกษาล่าสุด จาก มิลาน อิตาลี เรียกว่า Moli-sani project ลงพิมพ์ในวารสารด้านโภชนาการ Journal of Nutrition ทำการรวบรวมประชากรกว่า 4,849 คน ทั้งผู้ชายและผู้หญิงอายุมากกว่า 35 ปี ที่สุขภาพแข็งแรงดี ตอบคำถามเกี่ยวกับการรับประทานช็อกโกแลต และ เจาะเลือดเพื่อตรวจระดับ hs-CRP ค่านี้เป็นดัชนีบ่งบอกการอักเสบของหลอดเลือดแดง (hs-CRP) ปัจจุบันพบว่า hs-CRP มีความสัมพันธ์กับโรคหลอดเลือดหัวใจมาก ค่าที่มากกว่า 3 มก.ต่อลิตรจะเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจ พบกว่าผู้คนที่รับประทานช็อกโกแลตเป็นประจำมีค่า hs-CRP ต่ำกว่าคนที่ไม่ได้รับประทาน


TIPS ในการรับประทานช็อกโกแลต เพื่อสุขภาพ

Dark Chocolate เท่านั้น ไม่ผสมนม น้ำตาล ปกติแล้วแม้แต่ชนิด dark ก็ยังให้พลังงาน และ มีไขมัน การรับประทานมากเกินไปอาจจะมีผลเสียได้เช่นกัน ไม่ควรรับประทานชนิดที่ผสมนม เพราะนอกจากได้สารสำคัญคือ ฟลาโวนอยด์ น้อยกว่า (ตามน้ำหนัก) แล้วยังได้ของแถมอื่นๆด้วย เช่นนม น้ำตาล

อ่านฉลากก่อนรับประทาน ช็อกโกแลตที่รับประทานควรมี Cocoa มากกว่า70% ขึ้นไป

ปริมาณที่แนะนำคือ อย่างน้อย 6.7 กรัมต่อวัน

ผม เก็บมาเล่าให้ฟังเป็นความรู้เท่านั้นครับ ความจริงแล้วไม่ได้ตั้งใจให้ทุกท่านรับประทานช็อกโกแลตเพื่อป้องกันโรคหัวใจ แต่อย่างใด แต่สำหรับคนที่อยู่ในกลุ่ม Chocolate Lovers แล้วละก็ ให้เลือกรับประทานแต่ชนิด Dark เท่านั้นครับ อย่าลืมว่าเรายังสามารถหา ฟลาโวนอยด์ ได้อีกมากมายทั้งจากธรรมชาติ ผักผลไม้ รวมทั้งอาหารเสริมรูปแบบต่างๆล้วนผสมสารนี้กันทั้งนั้นครับ

คำที่เกี่ยวข้อง :ช็อกโกแลตป้องกันหัวใจ อาหาร ป้องกันโรคหัวใจ อาหาร บำรุงหัวใจ อาหาร ป้องกันหลอดเลือดตีบ ธัญพืชไม่ ขัดขาว ธัญพืชไม่ ขัดสี อาหาร ป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง
.

Popular Posts

  ©Template Blogger Green by Dicas Blogger.

TOPO